สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

สื่อนอกประโคมข่าวเขื่อน ไซยะบุรี ทำ ชาวไทย ริมโขงจิตตกกับชีวิตในอนาคต

จาก ASTVผู้จัดการออนไลน์

      เอ เอฟพี/เอเจนซีส์ - แม่น้ำโขงอันกว้างใหญ่เปรียบเสมือนเส้นเลือดใหญ่ที่หล่อเลี้ยงชีวิตครอบครัว ไทยมานานหลายชั่วอายุคนแล้ว แต่ทุกวันนี้ชาวประมงที่อยู่ริมโขงกลับพบว่าอวนแหของเขาว่างเปล่าอยู่บ่อย ครั้ง อีกทั้งหวั่นเกรงว่าเขื่อนผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังน้ำขนาดยักษ์จะเข้ามาทำลาย ชีวิตความเป็นอยู่ของพวกเขา
       
       พัฒน์ ชัยวงศ์ จับปลาที่แม่น้ำโขง ช่วงที่ไหลผ่านภาคเหนือของไทยมานาน 3 ทศวรรษแล้ว แต่พบว่าวันที่เขาจับปลาได้นั้นมีน้อยลงเรื่อยๆ จนแทบจะไม่มีเลย
       
       “บางวันผมก็จับปลาได้ แต่บางวันจับไม่ได้เลยสักตัว” ชายวัย 67 ปี ซึ่งเป็นหนึ่งในชาวประมงอีกหลายสิบที่อาศัยในอำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงรายโอดครวญ
       
       สิ่งที่ชาวบ้านหลายๆ คนเชื่อว่าเป็นสาเหตุที่ทำให้พวกเขาต้องประสบความลำบากในเวลานี้ ก็คือการก่อสร้างเขื่อนที่ต้นแม่น้ำโขง ในมณฑลยูนนานทางภาคใต้ของจีน ที่เข้ามาทำลายวัฏจักรธรรมชาติอันบอบบาง
       
       “โดยปกติแล้วกระแสน้ำจะขึ้น (และลง) ตามฤดูกาล” แต่ตอนนี้แม่น้ำจะลดและเพิ่มโดยขึ้นอยู่ว่าเขื่อนเปิดหรือปิดอยู่ และ “นี่คือสาเหตุว่าทำไมปลาลดลง” เดชา ชัยวงศ์ ชาวประมงวัย 48 ปีกล่าว
       วันนี้ มีสัญญาณภัยคุกคามใหม่เพิ่มขึ้นมาให้เห็น ที่บริเวณปลายแม่น้ำโขงช่วงที่ไหลเข้าประเทศลาว
       
       โครงการสร้างเขื่อนไซยะบุรีเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังน้ำ คือหนึ่งใน 11 โครงการที่มีการวางแผนก่อสร้างขึ้นในบริเวณลำน้ำโขงตอนล่าง ซึ่งกำลังสร้างความกังวลเกียวกับอนาคตของคนประมาณ 60 ล้านคนในภูมิภาคแห่งนี้ที่ต้องพึ่งพาอาศัยแม่น้ำโขง
       
       แม่น้ำสายนี้ที่มีความยาวถึง 4,800 กิโลเมตร ซึ่งถือว่ายาวที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คือถิ่นที่อยู่ของปลาหลายร้อยชนิด โดยหนึ่งในนั้นคือปลาบึกยักษ์แห่งแม่น้ำโขงที่ใกล้จะสูญพันธุ์เต็มทีแล้ว ข้อมูลของกองทุนพิทักษ์สัตว์ WWF ระบุ
       
       นักสิ่งพิทักษ์แวดล้อมได้ออกมาเตือนว่า การสร้างเขื่อนที่แม่น้ำโขงตอนล่างจะเป็นเสมือนกำแพงดักสารอาหารที่จำเป็น สำหรับสัตว์น้ำเอาไว้ และทำให้สาหร่ายแพร่พันธุ์มากขึ้น อีกทั้งขัดขวางไม่ให้ฝูงปลาอพยพหลายสิบพันธุ์ ซึ่งรวมถึงปลาบึกยักษ์ สามารถว่ายทวนน้ำขึ้นมาวางไข่ได้
       
       “ถ้ามีเขื่อนไซยะบุรี ปลาจะไม่สามารถวางไข่ได้ ทั้งจำนวนและสายพันธุ์ของปลาก็จะลดน้อยลง อีกทั้งก่อให้เกิดผลกระทบใหญ่หลวงอย่างแน่นอน” นิวัตน์ ร้อยแก้ว ประธานเครือข่ายทรัพยากรธรรมชาติและการอนุรักษ์วัฒนธรรมของจังหวัดเชียงราย กล่าว
       ปลาราว 200 พันธุ์ที่มีอยู่ในแม่น้ำโขงตอนล่างนั้น จำนวนมากทีเดียวต้องว่ายทวนน้ำขึ้นมาวางไข่ ถือเป็นการอพยพในแม่น้ำครั้งมโหฬารที่สำคัญที่สุดครั้งหนึ่งของโลก ทั้งนี้ตามข้อมูลของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (MRC)
       
       โครงการเขื่อนกระแสไฟฟ้าพลังน้ำที่ไซยะบุรี ซึ่งบริษัท ช.การช่าง ของไทยเป็นผู้รับผิดชอบการก่อสร้าง ได้สร้างความแตกแยกอย่างเด็ดขาดชัดเจนให้แก่ 4 ประเทศ อันได้แก่ ลาว เวียดนาม กัมพูชา และไทย ซึ่งรวมกันเป็นกลุ่ม MRC กลุ่มความร่วมมือกันระหว่างรัฐบาลของทั้ง 4 ชาติในลุ่มแม่น้ำโขง
       
       ทั้งนี้ ลาวหนึ่งในชาติที่พัฒนาน้อยที่สุดของโลก เชื่อว่าแผนการสร้างเขื่อนที่จะผลิตกำลังไฟฟ้า 1,285 เมกะวัตต์ และใช้งบประมาณในการก่อสร้าง 3.5 พันล้านดอลลาร์ (ราว 108,500 ล้านบาท) ตามที่สื่อของทางการรายงาน จะช่วยให้ลาวกลายเป็น “แบตเตอรีของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้”
       
       สำหรับไทยได้ตกลงจะซื้อกระแสไฟฟ้าส่วนใหญ่ที่โครงการนี้ผลิต ขณะที่กัมพูชาและเวียดนามยังกลัวว่าเขื่อนนี้จะมีผลกระทบร้ายแรงต่อการอพยพ ของปลา และการพัดพาของตะกอนในแม่น้ำ ซึ่งอาจทำให้เรือกสวนไร่นา และอุตสาหกรรมการประมงของประเทศพวกเขาได้รับความเสียหาย
       
       แม้ว่าจะมีความวิตกกังวลเหล่านี้ ทว่าการก่อสร้างส่วนหลักของเขื่อนก็ได้เริ่มขึ้นตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนที่ ผ่านมาแล้ว โดยลาวคาดการณ์ว่าน่าจะเสร็จสิ้นภายในปี 2019
       นิวัตน์ แสดงความเห็นว่าการตัดสินใจเดินหน้าโดยไม่สนใจความกังวลของประชาชนเช่นนี้ว่าเปรียบเสมือนการ “ทำรัฐประหารแม่น้ำโขง”
       
       “เราคือลูกหลานของแม่น้ำโขง เราเกิดและโตที่แม่น้ำโขง และแม่น้ำสายนี้เลี้ยงดูเราและมีอยู่เพื่อเรา แต่แล้ววันหนึ่งก็มีการสร้างเขื่อนขึ้นมา” เขากล่าวต่อ
       
       สมาคมของเขายื่นฟ้องการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และรัฐบาลไทยเพื่อขัดขวางโครงการนี้
       
       ทั้ง กฟผ.และ ช.การช่าง ต่างก็ไม่ได้ออกมาให้ความเห็นอะไรเมื่อเอเอฟพีสอบถามไปเกี่ยวกับเรื่องนี้
       
       ฮานส์ กัตต์แมน ซีอีโอของ สำนักเลขาธิการคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง ระบุว่า ทางด้านลาวได้ปรับปรุงรูปแบบของเขื่อนเพื่อพยายามลดผลกระทบให้เหลือน้อยที่ สุด
       
       เขากล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่ว่า ได้แก่ การสร้างระบบระบายตะกอนออกจากเขื่อน และสร้างช่องทางให้ปลาสามารถอพยพออกไปได้
       
       “ก็ยังคงมีคำถามที่ค้างคาอยู่ว่า ระบบระบายตะกอนจะสามารถใช้งานได้ตามคาดหรือไม่ เพราะยังไม่ได้รับการทดสอบ อีกทั้งมีความวิตกกังวลว่าช่องทางให้ฝูงปลาผ่านจะใช้ได้จริงหรือไม่กับสิ่ง ก่อสร้างที่ใหญ่โตขนาดนี้” เขากล่าวเสริม
       อย่างไรก็ตาม MRC ได้เตือนผ่านรายงานที่ตีพิมพ์เมื่อปี 2011 ว่า การก่อสร้างเขื่อนทั้ง 11 แห่งในแม่น้ำโขงช่วงที่ไหลผ่านลาวและกัมพูชา และอีกหลายสิบแห่งตามสาขาของแม่น้ำสายนี้จะทำให้ปริมาณปลาที่จับได้ลดลง อย่างน้อย 25 เปอร์เซ็นต์ภายในปี 2030
       
       ชาวบ้านคนไทยกำลังดิ้นรนต่อสู้ “ในนามของแม่น้ำโขง” รวมทั้งกำลังต่อสู้เพื่อประชาชนชาวลาว เวียดนาม และกัมพูชา ที่มีสิทธิในการแสดงความคิดเห็นน้อยกว่า เพียรพร ดีเทศน์ และกลุ่มนักรณรงค์เพื่อแม่น้ำระดับนานาชาติกล่าว
       
       “มีเทศกาลและประเพณีจำนวนมากที่เกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับแม่น้ำโขง” เธอบอก เป็นต้นว่าพญานาคในตำนานที่คอยพิทักษ์ดูแลแม่น้ำโขง
       
       “แต่ถ้าเขื่อนถูกสร้างขวางแม่น้ำแห่งนี้ ก็ย่อมหมายความว่าพญานาคจะไม่สามารถว่ายทวนน้ำขึ้นมาได้” เธอกล่าวเสริม
       
       เช่นเดียวกับปลาบึกยักษ์ในแม่น้ำโขง หนึ่งในปลาน้ำจืดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งเมื่อเติบโตเต็มที่จะยาวถึง 3 เมตร และหนักถึง 300 กิโลกรัม โดยที่ขณะนี้หลงเหลืออยู่ราว 200 ตัวเท่านั้นเนื่องจากถูกคุกคามจากการจับปลาในปริมาณมากเกินไปอยู่แล้ว ข้อมูลของงานวิจัยขององค์กร WWF ชิ้นล่าสุดระบุ ดังนั้นจึงเป็นที่วิตกกันว่าการก่อสร้างเขื่อนจะทำให้สัตว์ที่เป็นเอกลักษณ์ ชนิดนี้ต้องสูญพันธุ์ไป
       
       พัฒน์กล่าวว่า “เมื่อก่อน ผมเคยจับ (ปลาบึก) ได้หลายตัวเลยทีเดียว แต่ตอนนี้จับไม่ได้เลย ผมก็ไม่รู้ว่ามันไปไหนหมดแล้ว”
นิวัตน์ ร้อยแก้ว ประธานเครือข่ายทรัพยากรธรรมชาติและการอนุรักษ์วัฒนธรรม จ.เชียงราย
       

ไร่รักษ์ไม้,มูลไส้เดือน,ปุ๋ยมูลไส้เดือน,อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,อะไหล่ victorinox,เกษตรแปรรูป,อุปกรณ์แค้มปิง,servival Kit

Tags :

view