สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

กขช.รับทราบขาดทุนจำนำข้าวปี 54/55 1.3 แสนล้านบาท

จากประชาชาติธุรกิจ

นายวราเทพ รัตนากร รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ หรือ กขช. ว่า ที่ประชุม รับทราบรายงานของคณะอนุกรรมการปิดบัญชีโครงการรับจำนำข้าวข้าวนาปี2554/2555 และข้าวนาปรัง2555 ขาดทุน1.3แสนล้านบาทและเห็นด้วยกับวิธีคำนวณของคณะอนุฯที่คำนวณจากฐานราคา เฉลี่ย บวกลบกับยอดตัวเลขค่าใช้จ่ายจริง

ส่วนปีการผลิต2555/2556ยัง มีประเด็นปัญหาการแปรสภาพผลผลิตเป็นข้าวสารที่ อตก-อคส.เปิดเผยว่าคณะอนุกรรมการปิดบัญชี ไม่มีการบันทึกจำนวนข้าวเปลือกที่อยู่ระหว่างการแปรสภาพเป็นข้าวสารจำนวน 2.5 ล้านตัน ลงในรายงานปิดบัญชี ซึ่งมีการตั้งทำงานขึ้นมาเพื่อตรวจสอบสต็อ ก ขณะเดียวกันยังให้คณะอนุกรรมการปิดบัญชีโครงการรับจำนำข้าวปิดบัญชีทุกไตรมา
   
ส่วน จะมีการปรับลดราคาการรับจำนำข้าวและทบทวนการขายข้าวแบบรัฐต่อรัฐหรือไม่นั้น นายวราเทพ กล่าวว่า มีคำตอบว้แล้วซึ่งจะเปิดเผยหลังจากที่ได้เสนอต่อที่ประชุม ครม.ในวันพรุ่งนี้ ทั้งนี้การปรับเปลี่ยนวิธีการรับจำนำข้าวจะต้องดูความเหมาะสมของการดำเนิน โครงการ ทั้งค่าจ่ายและประโยชน์ที่เกษตรกรจะได้รับ


รัฐบาลถอยลดราคาจำนำ คาดเหลือตันละ 1.2-1.35 หมื่น และไม่รับทุกเมล็ด พร้อมรับปีแรกเจ๊ง 1.36 แสนล้าน

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์

กขช.ยอมรับจำนำข้าวปีแรกนาปี 54/55 และนาปรัง 55 เจ๊ง 1.36 แสนล้าน ส่วนปี 55/56 ยังไม่สรุป ขอเช็กสต๊อกก่อน พร้อมใส่เกียร์ถอย จ่อลดราคาจำนำข้าวเหลือตันละ 1.2-1.35 หมื่นบาท ก่อนที่จะถังแตก และไม่รับจำนำทุกเมล็ดอีกต่อไป
       
       ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 15.00 น. ของวันที่ 17 มิ.ย.2556 ได้มีการประชุมคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) โดยการประชุมครั้งนี้ นายวราเทพ รัตนากร รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะเป็นผู้ที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้แต่งตั้งให้หาข้อเท็จจริงกรณีการรับจำนำข้าวเจ๊ง 2.6 แสนล้านบาท และได้เข้าร่วมการประชุม กขช. ในครั้งนี้ด้วย ได้ออกมาชี้แจงถึงตัวเลขการขาดทุนจำนำข้าว
       
       นายวราเทพกล่าวว่า กขช. ได้ให้การรับรองตัวเลขดำเนินโครงการรับจำนำข้าวฤดูกาลแรก ซึ่งอยู่ในฤดูกาลผลิตปี 2554/55 และนาปรังปี 2555 มีผลดำเนินงานขาดทุน 1.36 แสนล้านบาท ตามวิธีคำนวณของคณะอนุกรรมการปิดบัญชีโครงการแทรกแซงสินค้าเกษตร กระทรวงการคลัง ที่คำนวณจากมูลค่าข้าวในสต็อกของรัฐบาลซึ่งยังคงเหลืออยู่ตามราคาตลาดต่ำสุด ณ วันปิดบัญชี โดยคำนวณจากจำนวนข้าวเปลือก 21.7 ล้านตัน ใช้เงินไปทั้งสิ้น 3.52 แสนล้านบาท ขณะที่มูลค่าข้าวคงเหลือในสต็อก 1.56 แสนล้านบาท ส่วนข้าวที่ขายออกไป 5.92 หมื่นล้านบาท
       
       ส่วนการพิจารณาตัวเลขปิดบัญชีข้าวนาปีฤดูกาลผลิต 2555/56 ยังไม่สามารถคำนวณตัวเลขได้ เนื่องจากสต็อกยังมีการคลาดเคลื่อน กขช. จึงได้มอบให้องค์การคลังสินค้า (อคส.) และองค์การตลาดเพื่อเกษตรก (อ.ต.ก.) บไปตรวจปริมาณสต็อกข้าวที่แน่นอน และส่งตัวเลขกลับมาให้คณะอนุกรรมการปิดบัญชีฯ พิจารณาอีกครั้ง
       
       ทั้งนี้ ผลการขาดทุนโครงการข้าวนาปี 2554/55 และนาปรัง 2555 อาจเปลี่ยนแปลงได้ เพราะตัวเลขที่แท้จริงจะมีการสรุปได้ชัดเจน เมื่อมีการระบายข้าวจนหมด โดยจะนำข้อสรุปที่ได้เสนอให้ ครม. พิจารณาในวันนี้ (18 มิ.ย.)
       
       นายวราเทพกล่าวว่า เป็นครั้งแรกที่มีการคำนวณตัวเลขขาดทุนในโครงการรับจำนำข้าวออกมาก่อน เพื่อตอบข้อสงสัยของสังคม หลังมีการกล่าวหาว่ามีการขาดทุนสูงถึง 2.6 แสนล้านบาท ซึ่งเป็นตัวเลขที่ไม่มีที่มาที่ไป และหลังจากที่ กขช. ได้ขอให้คณะอนุกรรมการปิดบัญชีฯ ทำการสรุปตัวเลขการดำเนินการเป็นรายไตรมาส หรือทุก 3 เดือน สรุปให้ กขช. รับทราบ ซึ่งครั้งต่อไปจะทำการสรุปตัวเลขในโครงการรับจำนำข้าว โดยปิดบัญชีในวันที่ 31 พ.ค.2556 และยึดวิธีการคำนวณของอนุกรรมการปิดบัญชีฯ เป็นมาตรฐานการคำนวณผลดำเนินการ
       
       จากนั้นเมื่อเวลาประมาณ 19.45 น. นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้ออกมาแถลงข่าวถึงผลการประชุม กขช. ว่า ได้มีมติให้ปรับปรุงโครงการรับจำนำข้าว ที่จะนำมาใช้ในปี 2556/57 และนาปรัง 2557 โดยมี 3 ทางเลือกให้ฝ่ายเลขานุการ กขช. ไปพิจารณา คือ 1.ใช้ราคาปัจจุบันที่ 1.5 หมื่นบาทต่อตัน ลดลงในอัตรา 15-20% 2.ใช้ราคาต้นทุนที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์คำนวณได้ แล้วบวกกำไรให้ 25% และ 3.ใช้ราคาชี้นำตลาด โดยบวกราคาเพิ่มให้จากราคาตลาดอีก 10% ซึ่งราคาทั้งหมดจะอยู่ในกรอบ 1.2-1.35 หมื่นบาท/ตัน ส่วนข้าวหอมมะลิ ก็จะใช้วิธีการเดียวกัน ซึ่งจะมีราคาลดลงด้วย
       
       ส่วนปริมาณที่รับจำนำ คาดว่าจะมีการปรับลดปริมาณลงเช่นเดียวกัน โดยจะรับจำนำไม่เกิน 14-15 ล้านตัน จากคาดการณ์ผลผลิตปี 2556/57 ที่คาดว่าจะมีปริมาณ 26-27 ล้านตันข้าวเปลือก ส่วนนาปรัง 2557 ยังไม่ได้มีการคาดการณ์ โดย กขช. ได้มอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการ ไปรวบรวบรายละเอียดแต่ละแนวทาง ก่อนนำเสนอให้ กขช. พิจารณา และนำเสนอ ครม .พิจารณาต่อไป
       
       “การพิจารณาปรับลดราคาและปริมาณการรับจำนำข้าวในครั้งนี้ เพื่อเป็นการรักษาวินัยทางการเงินการคลัง และไม่เป็นภาระต่อการจัดทำงบประมาณที่จะต้องมาชดเชยในแต่ละปี ซึ่งรัฐบาลไม่ได้นิ่งนอนใจ และตระหนักมาโดยตลอด โดยกรอบการใช้เงินในโครงการรับจำนำตามวินัยทางการคลัง จะต้องขาดทุนไม่เกิน 7 หมื่นถึง 1 แสนล้านบาท”นายบุญทรงกล่าว
       
       นายบุญทรงกล่าวว่า กขช. ยังได้มีมติให้มีการเร่งรัดการระบายข้าวในสต๊อกรัฐบาลให้เร็วขึ้น โดยใช้แนวทางใหม่ๆ เพิ่มขึ้น เช่น การเปิดช่องให้ต่างประเทศเสนอซื้อข้าวได้โดยตรง การประมูลในรูปแบบใหม่ๆ หรือใช้วิธีการเดิมที่ไม่เคยใช้ คือ การขายในตลาดซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า (เอเฟต) โดยให้กรมการค้าต่างประเทศไปศึกษารายละเอียดและเสนอกลับมาให้ กขช. พิจารณาอีกครั้ง
       
       นอกจากนี้ ยังได้แต่งตั้งคณะทำงานตรวจสอบสต๊อกข้าวของรัฐบาล โดยให้ตรวจสอบโรงสี โกดังกลางทุกแห่ง เพื่อตรวจสอบปริมาณข้าวที่คงเหลือทั้งหมด โดยให้เวลาดำเนินการภายใน 30 วัน


ไร่รักษ์ไม้,มูลไส้เดือน,ปุ๋ยมูลไส้เดือน,เกษตรแปรรูป,อุปกรณ์แค้มปิง,อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,เอาตัวรอดในภาวะวิกฤต

Tags :

view