สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ดำรง จิระสุทัศน์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เผยอีก 2 เดือนยุติศึกขึ้นทะเบียนสารเคมี

จากประชาชาติธุรกิจ

สัมภาษณ์

หลังจากที่อธิบดีคนเก่าเกษียณอายุไปเมื่อวันที่ 30 กันยายนที่ผ่านมา ผู้ที่ขึ้นมาดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมวิชาการเกษตรคนใหม่ก็ถูกจับตามองว่า จะทำอย่างไรกับการขึ้นทะเบียนสารเคมีการเกษตร โดยเฉพาะสาร 4 ตัวคือ เมทโทมิล คาร์โบฟูราน อีพีเอ็น และไดโคโตฟอส ที่มีผู้ยื่นคัดค้านการขึ้นทะเบียน และเป็นประเด็นที่อธิบดีคนก่อนใส่เกียร์ว่างส่งท้ายไว้ จึงเป็นหน้าที่ของ นายดำรง จิระสุทัศน์ ที่จะตอบคำถามเรื่องนี้ต่อสังคม

- เหตุผลที่ต้องมีการใช้ พ.ร.บ.วัตถุอันตรายใหม่


เดิมเป็นกฎหมายเก่ามาก ใช้มา 30-40 ปี ตั้งแต่มีสารเคมีอยู่ 100 ชนิด ตอนนี้สารเคมีมีหลายชนิด ถ้าไม่แก้กฎหมายสารเคมีเหล่านี้จะเข้ามาในประเทศไทยง่ายเกินไป บางชนิดประเทศผู้ผลิตไม่ใช้แล้ว สารเคมีบางชนิดมีโรงงานผลิตเป็น 10 ราย ดังนั้นสารทุกตัวต้องเข้าตามระเบียบใหม่หมด ควบคุมให้เป็นมาตรฐานสากลมากขึ้น มิฉะนั้นจะเป็นการปล่อยปละละเลย ยกตัวอย่าง ผู้นำเข้ามีหลายสมาคม บางบริษัทไม่เข้าสมาคม เพราะเขาแบ่งเกรดกันเอง ถ้ามันมีมาตรฐานเท่ากันมันต้องมีสมาคมเดียว

- เกณฑ์ในการขึ้นทะเบียนใหม่เป็นอย่างไร ความคืบหน้าถึงไหนแล้ว

เกณฑ์การพิจารณาคือ โรงงานต้องได้รับการรับรองคุณภาพ แล็บได้มาตรฐาน ทดสอบประสิทธิภาพว่าสารนั้นใช้ได้ผลจริงหรือไม่ ตรวจสอบความเป็นพิษ (toxicos) และตรวจสอบความถูกต้องของการ

นำเข้า ขั้นตอนเหล่านี้ถ้าทำถูกต้องหมดใช้เวลา 1 ปีนิด ๆ ซึ่งเป็นกระบวนการปกติ บางตัวอาจจะปีครึ่ง-สองปี ตอนนี้ขึ้นทะเบียนแล้วประมาณ 2,160 ชนิด กำลังพิจารณาอยู่ในช่วงนี้ประมาณ 100 ตัว ที่จะดำเนินการ จากที่ยื่น 7,725 ตัว กำหนดว่า 1 สารขายได้ 3 ชื่อ เพื่อให้เกษตรกรจำได้ การควบคุมง่าย และตรวจสอบง่าย ถ้าของดีสามแบรนด์ก็พอแล้ว และเดิมไม่มีข้อกำหนดอายุใช้งาน แต่กฎหมายใหม่กำหนดให้ทะเบียนหมดอายุ 6 ปี ต้องขออนุญาตขึ้นทะเบียนใหม่

- บริษัทบ่นว่ากระบวนการในการตรวจสอบพิษต้องผ่านแล็บ ซึ่งไม่มีแล็บแบบนั้นในเมืองไทย

กรมกำหนดว่าโรงงานต้องได้มาตรฐาน ต้องมีแล็บมาตรฐาน ไม่ได้หมายความว่าตรวจในประเทศไทยเท่านั้น แต่ต้องมีเอกสารยืนยันว่าผลิตจากบริษัทที่ได้มาตรฐานแล้ว ซึ่งไม่ใช่เรื่องยาก เอกสารเหล่านี้

ไม่ต้องขอ บริษัทผู้ผลิตเขาจะให้มาถือเป็นการการันตีคุณภาพ แต่ปัญหาคือส่วนใหญ่เขากลัวว่าถ้า 4 ตัวนี้ถูกพิจารณาพิเศษแล้วกรมจะไปดูตัวอื่น ๆ มีสมาคมหนึ่งพยายามบิดเบือนความจริงเพื่อปกป้องตัวเอง และพยายามปล่อยข่าวที่ไม่จริง เช่น การขึ้นทะเบียนช้าทำให้สารเคมีปลอมเยอะ แต่ความจริงยิ่งมีการขึ้นทะเบียนมากยิ่งปลอมง่าย และตรวจสอบยาก

- สารเคมี 4 ตัวที่อยู่ในรายชื่อสารเคมีที่ต้องเผ้าระวังเป็นพิเศษและเป็นประเด็นอยู่ พิจารณาถึงขั้นไหนแล้ว

4 ตัวนี้เป็นสารเคมีบางอย่างที่อนุญาตนำเข้ามาก่อน และตอนนี้บริษัทที่ขายอยากให้อนุญาตนำเข้า แต่ก็มีอยู่ 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายที่ผลักดันอยากให้นำเข้าก็บอกว่า ใช้ได้ดีในอดีตไม่อันตราย ส่วนอีกฝ่ายก็สุดขอบ เข้าไม่ได้ทุกอย่างอันตรายหมด ที่ผ่านมามีกรรมการประชุมพูดกันคนละที เพื่อความเป็นธรรมกรมจะให้มีการประชุมร่วมกันทั้ง 2 ฝ่าย ผมและทีมงานกรรมการชุดเดิมจะเปิดเวที และให้ทั้งสองฝ่าย

ส่งหลักฐาน ซึ่งหลักฐานทั้งหมดต้องเป็นวิทยาศาสตร์ เราจะรับหลักฐานมาพิจารณา เพราะหลักฐานของแต่ละฝ่ายไม่ตรงกัน ผมจะแก้ปัญหานี้ให้จบภายใน 2 เดือน กรมจะอยู่ตรงกลาง ทั้งบริษัทและฝ่ายคัดค้านต้องได้คำตอบที่เขาพอใจ หลักพิจารณาก็คือ เกษตรกรมีความจำเป็นต้องใช้หรือไม่ มีสารทดแทนที่มีพิษน้อยกว่าหรือไม่

4 ตัวนี้มีคนยื่นขอจดทะเบียนแล้วจำนวนมาก 2 ตัว คือ เมทโทมิล และคาร์โบฟูราน ส่วนอีก 2 ตัวยังไม่มีการยื่น ถ้า 2 ตัวนี้ขึ้นทะเบียนไม่ได้ อีกสองตัวนั้นยิ่งมีเงื่อนไขน่าจะยาก เพราะกรมเคยยกเลิกการใช้โมโนโตฟอส เมื่อไดโคโตฟอสสลายตัวจะเป็นโมโนโตฟอส เพราะฉะนั้นจึงขึ้นไม่ได้ และตอนนี้ทุกตัวมีสารใหม่ทดแทน

- ในการเสวนาครั้งก่อน ๆ พูดกันว่า

มีแนวโน้ม 99% ที่จะห้ามใช้เมทโทมิล แต่มีเกษตรกรผู้ปลูกมะม่วงบางกลุ่มบอกว่าจำเป็นต้องใช้ กรมจะพิจารณาอย่างไรเมทโทมิลมีปัญหามากในมะม่วง เกษตรกรผู้ปลูกมะม่วงมีเยอะเป็นหมื่นแสน ถ้าสมาคมไปยุให้มีคนมาพูด แต่ถ้าสินค้าโดนตีกลับหรือโดนแบนไม่ได้เดือดร้อนแค่กลุ่มที่มาพูด แต่เดือดร้อนคนปลูกมะม่วงทั้งหมด ตรงนี้ต้องพิจารณา ไทยส่งออกมะม่วงปีละพันล้าน และตั้งเป้าจะเพิ่มขึ้น แต่ถ้าเราไม่แก้เรื่องสารตกค้างก็อาจเดือดร้อน

- ถ้าต่างประเทศเลิกใช้ หรือประเทศผู้ผลิตเลิกผลิตในประเทศแต่ย้ายไปผลิตที่อื่น เงื่อนไขนี้จะพิจารณาอย่างไร


การไม่ใช้มันต้องดูเหตุผลให้ลึก สมมติสารบางตัวให้ใช้กับข้าวโพดฝักอ่อน แต่ในประเทศนั้นไม่ปลูกข้าวโพดฝักอ่อนก็ไม่มีการใช้ ก็มีเหตุมีผลที่ต้องพิจารณา กับอีกเหตุผลคือไม่ใช้เพราะสารนั้นอันตราย เพราะฉะนั้นกรมต้องดูกันอย่างละเอียดรอบคอบ

- การที่อียูเข้มงวดตรวจพบสารใน

พืชผักจากไทย จะยกเลิกสารเหล่านั้นหรือไม่ ก็เป็นเหตุผลหนึ่งที่ต้องพิจารณา แต่มีสารบางตัวที่ใช้ผิด กรมไม่แนะนำให้ใช้ในพืชนี้ บริษัทก็รู้ว่าห้ามใช้กับพืชนี้แต่ก็ยังขาย เหล่านี้เป็นเหตุผลที่ต้องเป็นองค์ประกอบหลัก สารบางอย่างให้ใช้กับพืชระยะยาว แต่เกษตรกรใช้กับพืชผักระยะสั้นจึงทำให้พบสารตกค้าง

- กระบวนการที่ทำมาทั้งหมด บริษัทสมาคมอ้างว่าการขึ้นทะเบียนช้าจะทำให้ยาขาดตลาดจริงหรือไม่

ไม่จริง ยืนยันได้ เดินไปตรงไหนก็เจอ

- ถ้ายกเลิกจริง ไม่กลัวมีปัญหากับเอกชนหรือ

กลัวใคร เชื่อเถอะว่าทำดีความดีจะปกป้องคุณ คนที่ปกป้องคุณคือสังคม เกษตรกร คนที่เห็นว่าเป็นเรื่องดี ถ้าผมยกเลิกไม่ได้หมายความว่าผมเก่ง แต่ผมมีเหตุมีผล และไม่มีใครมาด่าผมได้ เพราะกาแฟหนึ่งแก้วผมก็ไม่ได้กินของเขา ผมพูดในที่ประชุมตลอดว่า ถ้าบริษัทไหนมาหาผมด้วยเรื่องที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมต้องมาหลาย ๆ คนในรูปกลุ่มก้อน ถ้ามาหาคนเดียวอย่าพูดเรื่องงาน

ถ้ามีเอกชนบริจาคผมจะประกาศว่าเป็นการทำบุญ ราชการเลี้ยงผมพอแล้ว ผมได้รับการแต่งตั้งในหลวงโปรดเกล้าฯมา บริษัทเอกชนผมไม่กลัว ผมอยู่เฉยๆ รับเงินเดือนแสนกว่าบาท จะปล่อยคาราคาซังได้ยังไง


ไร่รักษ์ไม้,มูลไส้เดือน,เกษตรแปรรูป,อุปกรณ์แค้มปิง,อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,เอาตัวรอดในภาวะวิกฤต

Tags :

view