สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

เรื่อง (ไม่) หมู ๆ

จากประชาชาติธุรกิจ

คอลัมน์ สามัญสำนึก

โดย ถวัลย์ศักดิ์ สมรรคะบุตร

หลังจากที่ยึก ๆ ยัก ๆ กันมานาน ในที่สุด สหรัฐก็ขอให้ประเทศไทยเปิดให้มีการนำเข้าเนื้อหมูและผลิตภัณฑ์จากสหรัฐ โดยนายกลิน ที เดวี่ส์ เอกอัครราชทูตสหรัฐประจำประเทศไทย ได้แจ้งเรื่องนี้อย่างเป็นทางการต่อนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 5 เมษายนที่ผ่านมานั้น

“คำขอ” ที่ดูจะประจวบเหมาะกับการที่ประเทศไทยกำลังจะไป “ขอร้อง” สหรัฐให้ “ยกเว้น” การเรียกเก็บภาษีนำเข้าสินค้าเหล็กและอะลูมิเนียมตามมาตรการภายใต้มาตรา 232 (National Security) แห่งกฎหมาย Trade Expansion Act of 1962 ซึ่งสหรัฐจะเก็บภาษีนำเข้าเหล็กร้อยละ 25 และอะลูมิเนียมร้อยละ 10 จากทั่วโลก (รวมทั้งประเทศไทย) ที่กำลังจะลุกลามกลายเป็น “สงครามการค้า” ระหว่างสหรัฐกับจีน เมื่อฝ่ายแรกได้เพิ่มรายการสินค้าที่อ้างว่าถูกจีนละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา ขณะที่จีนก็พร้อมที่จะตอบโต้ด้วยการขึ้นภาษีสินค้าจากสหรัฐในความเสียหายที่เกิดขึ้นพอ ๆ กัน

โดยสงครามการค้าที่กำลังจะเกิดขึ้นไม่ใช่สิ่งเหนือความคาดหมาย หลังจากที่โดนัลด์ ทรัมป์ ชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ พร้อมกับการประกาศนโยบาย America First ที่กำลังจะ “เหวี่ยง” สหรัฐจากการค้าเสรี (ข้อตกลงเขตการค้าเสรี) ไปสู่การดำเนินนโยบายกีดกันทางการค้าเพื่อขจัดสิ่งที่เรียกว่า การค้าที่ไม่เป็นธรรมกับสหรัฐ

โดยทรัมป์ได้เปิดฉากการดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีด้วยคำสั่งให้กระทรวงพาณิชย์สหรัฐ ทำการตรวจสอบประเทศที่ได้ดุลการค้าสหรัฐ ซึ่งแน่นอนว่า ไทยเป็น 1 ใน 16 ประเทศติดร่างแห่นี้มาตั้งแต่ต้น (ปี 2559 ไทยได้ดุลการค้าสหรัฐถึง 12.5 พันล้านเหรียญ)

อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนว่าการขอ “ยกเว้น” การเก็บภาษีนำเข้าเหล็กและอะลูมิเนียม ซึ่งสหรัฐเปิดช่องไว้ใน 2 กรณี คือ การขอยกเว้นเป็นรายการสินค้า (product exclusions) กับการขอยกเว้นเป็นรายประเทศ (country exclusions) กำลังจะถูก “เชื่อมโยง” เข้ากับกรณีการขอให้ไทยเปิดให้มีการนำเข้าหมู-เครื่องในที่ใช้สารเร่งเนื้อแดงจากสหรัฐ ด้วยเหตุผลที่ว่า ภายใต้นโยบาย America First นั้น จะไม่มีผลประโยชน์อะไรที่สหรัฐให้กับประเทศคู่ค้าที่ได้มาอย่างฟรี ๆ

แม้ว่าในหลักการตามมาตรา 232 คู่ค้าสหรัฐ อย่างเช่น ประเทศไทย สามารถ “อ้าง” เรื่องความเป็นพันธมิตรทางด้านความมั่นคงร่วมกัน (security relationship) มาอย่างยาวนาน

เพื่อขอ “ยกเว้น” การเก็บภาษีเป็นรายประเทศได้ก็ตาม

แต่นั้นเป็นแค่หลักการที่ฝ่ายไทยมีสิทธิที่จะหยิบยกขึ้นมา “ขอ” ได้ ส่วนจะให้หรือไม่ให้ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของสหรัฐเป็นสำคัญ

ดูเหมือนว่า คนที่เดือดร้อนที่สุดจากกรณีการเปิดเสรีให้มีการนำเข้าหมูและเครื่องในที่ใช้สารเร่งเนื้อแดงจะเป็นผู้คนในอุตสาหกรรมผลิตอาหารและอาหารสัตว์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ เอาเข้าจริงก็อุตสาหกรรมหมูมูลค่า 200,000 ล้านบาท ก็อยู่ในมือของบริษัทยักษ์ใหญ่ทางด้านปศุสัตว์ ที่ไม่ค่อยยอมออกหน้า แต่ควบคุมต้นทางของอุตสาหกรรมคือ “อาหารสัตว์” เพียงไม่กี่บริษัท

จึงนับเป็นความ “ท้าทาย” ที่บริษัทยักษ์ใหญ่ทางด้านปศุสัตว์เหล่านี้จะทำอย่างไรในความพยายามที่จะ “ขัดขืน” ไม่ให้ไทยเปิดนำเข้าหมูจากสหรัฐ

ด้วยข้อเท็จจริงที่ว่า หมูและเครื่องในนั้น ไม่ได้ใช้สารเร่งเนื้อแดงเกินไปกว่ามาตรฐานความปลอดภัยต่อผู้บริโภคขององค์การมาตรฐานอาหารแห่งประเทศ (CODEX) กำหนดไว้ตามมติของคณะกรรมาธิการ CODEX ซึ่งประเทศไทยก็เป็นสมาชิกอยู่ด้วย

ในกรณีนี้ สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ ได้หยิบยกเนื้อหมูภายในประเทศที่ปลอดจากการใช้สารเร่งเนื้อแดงขึ้นมาเป็นข้อต่อสู้

พร้อมกับตั้งคำถามว่า ทำไมจะต้องมีการนำเข้าเนื้อหมูและผลิตภัณฑ์ที่ใช้สารเร่งเนื้อแดงจากสหรัฐ ในขณะที่ไทยไม่มีข้อจำกัดในการนำเข้าเนื้อหมูปลอดสาร

จนเรื่องนี้กลายเป็นฝ่ายหนึ่งยึดมั่นในเรื่องข้อตกลง CODEX พร้อม ๆ กับความกลัวว่าจะถูกสหรัฐฟ้องร้องใน WTO กับอีกฝ่ายหนึ่งมุ่งจะปกป้องอุตสาหกรรมหมูในประเทศ

ท้ายที่สุดแล้วจะแข็งขืนความต้องการของสหรัฐไปได้อีกสักเท่าใด


,#eosgear,#ถุงมือกันบาด,#อะไหล่ victorinox, #victorinox มือสอง,#servival Kit,แค้มปิง,อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,เอาตัวรอดภาวะวิกฤต

Tags : เรื่อง (ไม่) หมู ๆ

view