สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

การพัฒนาเกษตรอินทรีย์ของไทย

จาก เดลินิวส์ออนไลน์

พัฒนาประเทศไทย ในหลายสิบปีที่ผ่านมาได้มุ่งเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจกระแสหลัก เน้นการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ รายได้ประชาชาติ (จีดีพี) ทางด้านการเกษตรก็เช่นเดียวกัน ได้มุ่งเน้นประสิทธิภาพการผลิตที่ต้องอาศัยสารเคมี ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เปิดปัญหาด้านสุขภาพของทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค การทำการเกษตรอินทรีย์ถือเป็นทางเลือกหนึ่งในการแก้ปัญหาดังกล่าว ที่จะก่อให้เกิดความสมดุลและการพัฒนาที่ยั่งยืน แต่การดำเนินการในขณะนี้ยังมีอุปสรรคและข้อจำกัด และจะนำไปสู่ความสำเร็จได้อย่างไรนั้น ต้องมีการศึกษาในเรื่องนี้อย่างจริงจัง
   
สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) จึงได้ให้ทุนสนับสนุนการวิจัย เรื่อง “การพัฒนาเกษตรอินทรีย์ของไทย” ให้แก่ รศ.ดร.ชยาพร วัฒนศิริ และคณะ ศูนย์พัฒนาเกษตรอินทรีย์ สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ดำเนินการโครงการวิจัย เพื่อศึกษาข้อมูลของภาพรวมและโครงสร้างของเกษตรอินทรีย์ สำหรับข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการส่งเสริมและพัฒนาเกษตรอินทรีย์ของประเทศไทย วิเคราะห์ปัจจัยความสำเร็จของการจัดการผักเกษตรอินทรีย์ และวิเคราะห์อุปสรรคและบทเรียนในการประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงสำหรับผู้ ผลิตเกษตรอินทรีย์ในการส่งเสริมความมั่นคงด้านอาหารในประเทศไทย
   
ผลของการศึกษา พบว่า ปัจจัยความสำเร็จผักเกษตรอินทรีย์มีปัจจัยที่สำคัญ 14 ปัจจัยด้วยกัน คือ 1. การจัดการปัจจัยการผลิตให้มีเพียงพอ เป็นไปตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ และสามารถเข้าถึงได้ 2. การจัดการระบบการผลิตที่ดีและเหมาะสม และความรู้ความเข้าใจในการประกอบธุรกิจผักเกษตรอินทรีย์ของผู้ผลิต 3. ศักยภาพในการผลิตผักเกษตรอินทรีย์ และทัศนคติที่ดีต่อผักเกษตรอินทรีย์ของผู้ผลิตและประกอบการ 4. การตลาดผักเกษตรอินทรีย์ที่เอื้อให้ผู้บริโภคเข้าใจผักเกษตรอินทรีย์และขยาย ความต้องการของผู้บริโภค 5. การจัดการโลจิสติกส์ที่สนับสนุนผักเกษตรอินทรีย์ 6. พฤติกรรมผู้บริโภคผักเกษตรอินทรีย์ที่เหมาะสมและความเชื่อมั่นของผู้บริโภค 7. กลุ่มและเครือข่ายผักเกษตรอินทรีย์ที่ครอบคลุมและเข้มแข็ง 8. การสื่อสารและประชาสัมพันธ์เชิงรุกที่ก่อให้เกิดผลกระทบเชิงพฤติกรรมที่ดี ต่อผักเกษตรอินทรีย์ของผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด 9. มาตรฐานและระบบการรับรองผักเกษตรอินทรีย์และชัดเจนเหมาะสม 10. ฐานข้อมูลผักเกษตรอินทรีย์ที่น่าเชื่อถือ และสามารถเข้าถึงได้ครอบคลุมในทุก ๆ ด้าน 11. การวิจัยที่สนับสนุนการดำเนินงานผักเกษตรอินทรีย์ 12. การสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนอย่างจริงจังและต่อเนื่อง 13. ศักยภาพและทัศนคติที่ดีต่อเกษตรอินทรีย์ของเจ้าหน้าที่หน่วยงานรัฐที่เกี่ยว ข้องต่อเกษตรอินทรีย์ และ 14. นโยบายและกฎหมายที่สนับสนุนผักเกษตรอินทรีย์ที่เหมาะสม
     
สำหรับแนวทางสู่ความสำเร็จ นั้นจะต้องเป็นแนวทางที่ทุกกลุ่มจะต้องเข้ามามีส่วนร่วมอย่างจริงจังและมี ความต่อเนื่อง กลุ่มดำเนินการที่ประกอบด้วยผู้ผลิต ผู้ค้าปัจจัยการผลิต ผู้ผลิตผักเกษตรอินทรีย์และผู้ประกอบการผักเกษตรอินทรีย์ ต้องมีการรวบรวมกลุ่มและสร้างเครือข่ายความร่วมมือกันเพื่อให้เกิดห่วงโซ่ อุปทานที่เข้มแข็ง กลุ่มผู้บริโภคจะต้องได้รับความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์ อย่างถูกต้องทั้งจากภาครัฐและเอกชน ส่วนกลุ่มสนับสนุนภาครัฐและเอกชนควรสร้างหรือปรับปรุงเครื่องมือต่าง ๆ เช่น กฎหมาย กฎระเบียบ ระบบฐานข้อมูล การวิจัย ฯลฯ ให้ไปส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาเกษตรอินทรีย์อย่างแท้จริง
   
ดังนั้นจึงมี ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายที่สำคัญ ได้แก่ 1. ปรับปรุงกฎระเบียบ กฎหมายที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ สารธรรมชาติ และการพัฒนาเกษตรอินทรีย์ 2. พัฒนาความรู้และศักยภาพของเกษตรกรโดยยึดเกษตรกรเป็นศูนย์กลางและภูมิปัญญา ท้องถิ่น และพัฒนาความรู้และศักยภาพจากพื้นฐานแต่ละกลุ่ม 3. จัดตั้งศูนย์ผลิตเมล็ดพันธุ์ผักเกษตรอินทรีย์และส่งเสริมการร่วมทุนระหว่าง ภาคเอกชนกับกลุ่มเกษตรกรที่มีศักยภาพในการผลิตและวิจัยเมล็ดพันธุ์ผักเกษตร อินทรีย์ 4. จัดให้มีระบบที่สร้างหลักประกันแก่ผู้ผลิตผักเกษตรอินทรีย์
5. จัดให้มีระบบการให้ความรู้และสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์ใน ลักษณะการศึกษาเชิงบันเทิง 6. จัดให้มีหน่วยงานรับผิดชอบในการบริหารจัดการเกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์และฐาน ข้อมูลที่ครอบคลุมและทันสมัย 7. ส่งเสริมการนำผักเกษตรอินทรีย์ไปบริโภคในกิจกรรมของหน่วยงานภาครัฐและเอกชน รวมถึงการจัดให้มีร้านค้าผักเกษตรอินทรีย์ในหน่วยงานของรัฐและเอกชน.

Tags : การพัฒนาเกษตรอินทรีย์ของไทย

view