สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ม.แม่โจ้เร่งพัฒนา ไส้เดือนพันธุ์ไทย เครื่องจักรชีวะย่อยสลายขยะ

จาก ASTVผู้จัดการออนไลน์



นายอานัฐ ตันโช อาจารย์ประจำภาควิชาทรัพยากรดินและสิ่งแวดล้อม คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ หัวหน้ากองทุนปุ๋ยไฮโดรโพนิคส์ หัวหน้ากองทุนปุ๋ยอินทรีย์น้ำ มูลนิธิโครงการหลวงและได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคด นโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
       ม.แม่โจ้ เร่งพัฒนาไส้เดือนดินสายพันธุ์ไทย หรือไส้เดือนแดงให้มีคุณภาพย่อยสลายขยะให้ใกล้เคียงกับต่างประเทศ ทดแทนการนำเข้าที่จะก่อปัญหาตามมา แก้ปัญหาขยะล้นเมืองที่ภาคเหนือ และในอนาคตจะวิจัยทางด้านการแพทย์ เพื่อรักษาบำรุงหัวใจ
       
       ชุมชนหลายแห่งในภาคเหนือกำลังประสบปัญหาในการกำจัดของเสีย โดยเฉพาะขยะในรูปที่สลายตัวได้อย่างรวดเร็ว เช่น จากสารอินทรีย์จำพวกเศษอาหารจากชุมชน ซึ่งในแต่ละวันมีปริมาณหลายสิบตันต่อ 1 ชุมชน ทำ ให้มนุษย์เริ่มมองหากระบวนการผลิตแบบดั้งเดิมที่ส่งผลต่อสภาพแวดล้อมน้อยที่ สุด ด้วยการนำเอาไส้เดือนดินมากำจัดขยะอินทรีย์ที่สลายตัวง่ายให้กลายเป็นปุ๋ย หมัก
       

       นายอานัฐ ตันโช อาจารย์ประจำภาควิชาทรัพยากรดินและสิ่งแวดล้อม คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ หัวหน้ากองทุนปุ๋ยไฮโดรโพนิคส์ หัวหน้ากองทุนปุ๋ยอินทรีย์น้ำ มูลนิธิโครงการหลวงและได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคด นโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า ปัจจุบันเศษขยะจากพืชผักที่มาจาก ตลาดเมืองใหม่มีวันละ 20 ตัน ซึ่งในการกำจัดโดยปกตินั้นทำโดยการเผาหรือกลบฝั่ง ทำให้สิ่งแวดล้อมได้รับผลกระทบเนื่องจากขยะมีปริมาณมากเกินกว่าที่จะทำลาย และทางมหาวิทยาลัยแม่โจ้ไม่เห็นด้วยกับการกำจัดขยะด้วยวิธีนี้ จึงพยายามพัฒนากระบวนการที่จะไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมและเป็นการย่อยสลายทาง ชีวภาพที่เร็วที่สุดในโลก นั่นก็คือ “การใช้ไส้เดือนดิน”
       
       
“สำหรับกระบวนการวิจัยนั้นขั้นแรกทางเราจะออกหาสายพันธุ์ ที่มีอยู่ตามธรรมชาติ บริเวณรอบมหาวิทยาลัย บางส่วนก็รับซื้อมาจากชาวบ้าน เมื่อได้ไส้เดือนมาแล้วก็นำไปไว้ในห้องเพาะที่มีชั้นสำหรับใส่ไส้เดือนดิน กับขยะ ในการย่อยสลายขยะให้เป็นปุ่ยหมักนั้นจะใช้เวลาประมาณ 3-4 วัน และขนาดความหนาของชั้นขยะที่ทำการย่อยสลายได้ได้ดีที่สุดคือ 3-5 นิ้ว (ขนาดเท่ากับชั้นผิวดินที่ไส้เดือนอาศัยอยู่) และอนาคตจะมีการนำสายพันธุ์จากทั่วโลกมาเพาะพันธ์ที่มีประสิทธิภาพในการสลายของเสียมากขึ้น”นายอานัฐกล่าว
       

       นายอานัฐกล่าวต่อว่า ไส้เดือนดินถูกจำแนกว่าเป็นสัตว์ในศักดิ์ แอนเนลิดา(Phylum Annelida) ชั้น ชีโตโพดา (Class Chaetopoda) ตระกูลโอลิโกชีตา (Order Oligochaeta) วงศ์แลมบริชิดี (Family Lambricidae) ซึ่งไส้เดือนดินที่รู้จักมีกันอยู่ประมาณ 1,800 ชนิด ไส้เดือนที่พบได้มากในแถบยุโรปและอเมริกาเป็นชนิด ลัมบริคัส เทอเรสทริส (Lumbricus terrestris) ส่วนที่พบมากในไทยและเอเชียอาคเนย์ คือ ฟีเรทธิมา เพกัวนา (Pheretima peguana) และ ฟีเรทธิมา โพสทูมา (Pheretima Posthuma)

ชั้นเพาะเลี้ยงไส้เดือนดินที่ทางมหาวิทยาลัยแม่โจ้ออกแบบขึ้น
       สำหรับการพัฒนาในระยะแรกนั้นเป็นการนำเอาสายพันธุ์ต่าง ประเทศเข้ามาทดลอง เนื่องจากสายพันธุ์พื้นเมืองในประเทศที่พบส่วนใหญ่มีความเชื่องช้าและกิน อาหารน้อยกว่า เมื่อนำมาใช้กำจัดขยะจึงในเวลามากกว่า แต่เนื่องจากการนำไส้เดือนพันธุ์ต่างประเทศเข้ามาต้องประสบปัญหาหลายประการ อาทิ อาจเกิดการกลืนสายพันธ์ท้องถิ่น ราคาสูงมากหากนำเข้า โดยราคาอยู่ที่ 11,500 บาทต่อ 4,500 ตัว อีกทั้งปัญหาเรื่องไส้เดือนจีเอ็มโอ เป็นต้น
       
       “เมื่อคำนวณถึงผลเสียจากการนำสายพันธุ์ต่างประเทศมาใช้แล้ว ทางมหาวิทยาลัยจึงตัดสินใจพัฒนาสายพันธุ์ไทยมาใช้มากกว่า แม้ว่าคุณภาพจะด้อยกว่าหากเทียบกัน โดยไส้เดือนไทย 1 ก.ก.จะใช้เวลากำจัดขยะ 1 ตันภายใน 4 วันแต่สายพันธุ์อเมริกาจะใช้เวลาเพียง 2 วัน เรียกได้ว่าคุณภาพยังด้อยกว่า 2 เท่า” นายอานัฐกล่าว
       
       
นายอานัฐยังกล่าวต่ออีกว่า สำหรับสายพันธุ์ไทยที่ มีความสามารถในการย่อยสลายของเสียที่ดีที่สุด คือ ฟีเรทธิมา เพกัวนา ซึ่งมีการปรับตัวดีมากในสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยเรียกได้ว่ามีความตื่นตัว สูง เมื่อถูกจับจะดิ้นอย่างรุนแรง มีพลังมาก สายพันธุ์นี้ถิ่นฐานดั้งเดิมอยู่ที่อินเดียและเอเชียตะวันออก มีสีแดง ความยาวประมาณ 4-8 นิ้ว พบได้ตามดินร่วนซุย ใต้กองขยะมูลฝอย เพิ่มในปริมาณที่รวดเร็วในที่มีวัตถุอินทรีย์มาก

       
       นอกจากนี้แล้วไส้เดือนดินยังถูกนำไปใช้ประโยชน์ด้านอาหารสัตว์อย่างปลา ไก่ เพราะไส้เดือนที่ทำการพัฒนานั้นเรียกได้ว่าสะอาดจริงๆ เนื่องจากเลี้ยงไว้ในห้องกะบะเลี้ยง อีกทั้งยังพัฒนาให้เป็นสินค้าส่งออกได้ เช่น เมืองจีนรับซื้อในราคากิโลกรัมละ 350บาท และในอนาคตไส้เดือนจะถูกเพิ่มมูลค่าด้วยวิจัยทางด้านการแพทย์ ในด้านหัวใจ ซึ่งในตัวไส้เดือนจะมีสารแก้โรคหัวใจและบำรุงหัวใจ
       


Tags : ม.แม่โจ้ เร่งพัฒนา ไส้เดือนพันธุ์ไทย เครื่องจักรชีวะ ย่อยสลายขยะ

view