สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

พ.ร.บ.ยาสูบฉบับใหม่ บังคับใช้ 4 ก.ค.! เน้นคุ้มครองสุขภาพ ผู้ไม่สูบบุหรี่-เยาวชน

จากประชาชาติธุรกิจ

เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม  ที่ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ แจ้งวัฒนะ   นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข(สธ.)  นพ.โสภณ เมฆธน ปลัดสธ. พร้อมด้วยนพ.เจษฎา  โชคดำรงสุข อธิบดีกรมควบคุมโรค และ ศ. นพ.ประกิต  วาทีสาธกกิต เลขาธิการมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ โดยภายหลังแถลงข่าว นพ.ปิยะสกลได้เดินรณรงค์เพื่อให้ประชาชนทราบถึงการบังคับใช้กฎหมายดังกล่าวภายในบริเวณศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯแจ้งวัฒนะ

โดย นพ.ปิยะสกล แถลงข่าว “พระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2560 มีผลบังคับใช้ตามกฎหมายในวันที่ 4 กรกฎาคม 2560” ว่า ปัญหาการบริโภคยาสูบเป็นปัญหาที่สำคัญของประเทศ ที่ส่งผลกระทบทั้งต่อสุขภาพของประชาชน ทำให้ป่วยและเสียชีวิตก่อนเวลาอันควร โดยคนไทยเสียชีวิตจากการสูบบุหรี่สูงถึงปีละกว่า 5 หมื่นคน  นอกจากนี้ กลยุทธ์การตลาดบุหรี่ยังทำให้นักสูบหน้าใหม่ในกลุ่มเยาวชนเพิ่มจำนวนมากขึ้น และมีโอกาสที่จะเป็นผู้เสพติดไปตลอดชีวิต รวมทั้งความสูญเสียทางเศรษฐกิจของประเทศ รัฐบาลต้องดูแลรักษาผู้ป่วยจากโรคเสพติดยาสูบ  ทำให้สูญเสียงบประมาณไปกับการรักษาผู้ป่วย ซึ่งคิดเป็นมูลค่าความสูญเสียที่เกิดจากการสูบบุหรี่สูงถึง 74,884 ล้านบาท



นพ.ปิยะสกล กล่าวอีกว่า  รัฐบาล โดยกระทรวงสาธารณสุข ได้ออกพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2560 ขึ้น เพื่อเป็นอีกหนึ่งมาตรการที่จะช่วยป้องกันเยาวชนไม่ให้เข้าสู่วงจรร้ายของการติดบุหรี่อันเนื่องมาจากกลยุทธ์การตลาดบุหรี่ที่หลากหลายขึ้น และเป็นการคุ้มครองสิทธิของเยาวชนและสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ ซึ่งเป็นประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ และที่สำคัญอีกประการคือ ประเทศไทยเข้าร่วมรัฐภาคีตามกรอบอนุสัญญาว่าด้วยการควบคุมยาสูบขององค์การอนามัยโลก (WHO-FCTC) จึงจำเป็นต้องปรับปรุงกฎหมายให้สอดคล้องกับสถานการณ์เท่าทันกลยุทธ์ทางการตลาดของบริษัทบุหรี่ และแนวปฏิบัติตามกรอบอนุสัญญาดังกล่าว

ด้านนพ.เจษฎา โชคดำรงสุข อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า ประเทศไทยมีกฎหมายที่เกี่ยวกับการควบคุมการบริโภคยาสูบอยู่เดิม 2 ฉบับ คือ พ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2535 และพ.ร.บ.คุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ พ.ศ. 2535 ซึ่งบังคับใช้มานานกว่า 25 ปี สำหรับ พ.ร.บ. ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2560 มีมาตรการสำคัญที่ประชาชนต้องรับทราบเพื่อการปฏิบัติตามกฎหมายที่ถูกต้อง ดังนี้ 1.กำหนดห้ามขายหรือให้ผลิตภัณฑ์ยาสูบแก่บุคคลที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี 2.ห้ามให้บุคคลที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี เป็นผู้ขายผลิตภัณฑ์ยาสูบ 

3.ห้ามขายผลิตภัณฑ์ยาสูบใน 4 กลุ่มสถานที่ ได้แก่ วัดหรือสถานที่ปฏิบัติพิธีกรรมทางศาสนา สถานพยาบาลและร้านขายยา สถานศึกษาทุกระดับ สวนสาธารณะ สวนสัตว์ และสวนสนุก ซึ่งหากเจ้าของพื้นที่หรือผู้ดูแลไม่แจ้งความเพื่อดำเนินคดีก็จะมีความผิดปรับ 3,000 บาท  4.กำหนดห้ามโฆษณาสื่อสารการตลาดผลิตภัณฑ์ยาสูบในทุกรูปแบบ อาทิ พริตตี้ส่งเสริมการขายในงานคอนเสิร์ต 5.ห้ามผู้ประกอบการธุรกิจผลิตภัณฑ์ยาสูบทำกิจกรรม CSR  อุปถัมภ์สนับสนุนบุคคล หรือองค์กร ที่เป็นการสร้างภาพลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ยาสูบ

6.ห้ามตั้งวางโชว์ผลิตภัณฑ์ยาสูบหรือซองบุหรี่ ณ จุดขายปลีกที่ทำให้ผู้บริโภคหรือประชาชนมองเห็น 7.ห้ามแบ่งซองขายบุหรี่เป็นรายมวน 8.เพิ่มโทษผู้ฝ่าฝืนสูบบุหรี่ในเขตปลอดบุหรี่เป็นปรับไม่เกิน 5,000 บาท และ9.กำหนดหน้าที่ให้เจ้าของสถานที่สาธารณะที่เป็นเขตปลอดบุหรี่ มีหน้าที่ต้องประชาสัมพันธ์ แจ้งเตือน ดูแลให้ไม่มีการฝ่าฝืนสูบบุหรี่ในเขตปลอดบุหรี่  หากฝ่าฝืนไม่ดำเนินการ เจ้าของสถานที่มีโทษปรับไม่เกิน 3,000 บาท


10 ประเด็นต้องรู้ “กม.บุหรี่” ฉบับใหม่ บังคับใช้ 4 ก.ค.นี้ ห้ามขายเด็กต่ำกว่า 20 ปี ห้ามโชว์สินค้า

จาก ASTVผู้จัดการออนไลน์

      พ.ร.บ. ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบฉบับใหม่ เริ่มบังคับใช้ 4 ก.ค. นี้ เผย 10 ประเด็นใหม่ต้องรับรู้ ห้ามขายหรือให้บุหรี่คนอายุต่ำกว่า 20 ปี ห้ามวางโชว์ที่จุดขาย ห้ามแบ่งมวนขาย หวังสกัดเด็กเข้าถึงบุหรี่เป็นนักสูบหน้าใหม่ ด้านเจ้าของที่สาธารณะต้องดูแลเข้มงวดห้ามมีการทำผิดกฎหมาย
       
       วันนี้ (3 ก.ค.) ที่ศูนย์ราชการ แจ้งวัฒนะ  นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) แถลงข่าวการบังคับใช้ “พ.ร.บ. ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2560” ว่า กฎหมายควบคุมยาสูบเดิมมีการใช้งานมากว่า 25 ปี จึงต้องมีการร่างกฎหมายใหม่ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน ซึ่งปัจจุบันแนวโน้มการสูบบุหรี่ของเยาวชนเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ ในฐานะที่ตนเคยสูบบุหรี่และเลิกแล้ว กล้าพูดได้เลยว่า “บุหรี่” มีพิษภัยทั้งต่อตัวคนสูบเอง คนรอบข้าง และสิ่งแวดล้อม โดยปัจจุบันคนไทยเสียชีวิตจากการสูบบุหรี่สูงถึงปีละกว่า 5 หมื่นคน รัฐบาลต้องดูแลรักษาผู้ป่วยจากโรคเสพติดยาสูบ  ทำให้สูญเสียงบประมาณไปกับการรักษาผู้ป่วย ซึ่งคิดเป็นมูลค่าความสูญเสียที่เกิดจากการสูบบุหรี่ สูงถึง 74,884 ล้านบาท ทั้งนี้ พ.ร.บ. ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2560 จะเป็นอีกมาตรการหนึ่งที่จะช่วยป้องกันเยาวชนไม่ให้เข้าสู่วงจรร้ายของการติดบุหรี่ อันเนื่องมาจากกลยุทธ์การตลาดบุหรี่ที่หลากหลายขึ้น และเป็นการคุ้มครองสิทธิของเยาวชนและสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ ซึ่งเป็นประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ และที่สำคัญอีกอย่าง คือ ประเทศไทยเข้าร่วมรัฐภาคีตามกรอบอนุสัญญาว่าด้วยการควบคุมยาสูบขององค์การอนามัยโลก (WHO-FCTC)
       
       นพ.เจษฎา โชคดำรงสุข อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า เดิมประเทศไทยมีกฎหมายควบคุมการบริโภคยาสูบ 2 ฉบับ คือ พ.ร.บ. ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2535 และ พ.ร.บ. คุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ พ.ศ. 2535  ซึ่งใช้บังคับกันมานานกว่า 25 ปีแล้ว สำหรับ พ.ร.บ. ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2560 มีมาตรการสำคัญที่เปลี่ยนแปลงและเพิ่มเติม 10 ประเด็น ดังนี้ 1. กำหนดห้ามขายหรือให้ผลิตภัณฑ์ยาสูบแก่บุคคลที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี 2. ห้ามให้บุคคลที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี เป็นผู้ขายผลิตภัณฑ์ยาสูบ 3. ห้ามขายผลิตภัณฑ์ยาสูบใน 4 กลุ่มสถานที่ ได้แก่ ศาสนสถานทุกศาสนา สถานพยาบาลและร้านขายยา สถานศึกษาทุกระดับ ตั้งแต่สถานรับเลี้ยงเด็กจนถึงมหาวิทยาลัย และกลุ่มสวนสาธารณะ สวนสัตว์ และสวนสนุก  4. กำหนดห้ามโฆษณาสื่อสารการตลาดผลิตภัณฑ์ยาสูบในทุกรูปแบบ อาทิ พริตตี้ส่งเสริมการขายในงานคอนเสิร์ต
       
       5. ห้ามผู้ประกอบการธุรกิจผลิตภัณฑ์ยาสูบทำกิจกรรมซีเอสอาร์ อุปถัมภ์สนับสนุนบุคคล หรือองค์กร ที่เป็นการสร้างภาพลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ยาสูบ ยกเว้นบุคคลและองค์กรภายในที่เกี่ยวข้อง เช่น ชาวไร่ยาสูบ เป็นต้น 6. ห้ามตั้งวางโชว์ผลิตภัณฑ์ยาสูบหรือซองบุหรี่ ณ จุดขายปลีกที่ทำให้ผู้บริโภคหรือประชาชนมองเห็น 7. ห้ามแบ่งซองขายบุหรี่เป็นรายมวน 8. เพิ่มโทษผู้ฝ่าฝืนสูบบุหรี่ในเขตปลอดบุหรี่เป็นปรับไม่เกิน 5,000 บาท และ 9. กำหนดหน้าที่ให้เจ้าของสถานที่สาธารณะที่เป็นเขตปลอดบุหรี่ มีหน้าที่ต้องประชาสัมพันธ์ แจ้งเตือน ดูแลให้ไม่มีการฝ่าฝืนสูบบุหรี่ในเขตปลอดบุหรี่ หากฝ่าฝืนไม่ดำเนินการ เจ้าของสถานที่มีโทษปรับไม่เกิน 3,000 บาท 
       
       ศ.นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ เลขาธิการมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ กล่าวว่า พ.ร.บ. ฉบับนี้จะครอบคลุมผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของนิโคตินทั้งหมด รวมถึงกลุ่มบุหรี่ไฟฟ้าด้วย แต่จะต้องรอการออกกฎหมายลูกอีกครั้ง อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันบุหรี่ไฟฟ้าก็เป็นสินค้าผิดกฎหมายอยู่แล้ว เพราะมีประกาศห้ามนำเข้าของกระทรวงพาณิชย์ และห้ามขายของคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ส่วนการห้ามทำซีเอสอาร์กับบุคคลองค์กรภายนอกกลุ่มธุรกิจยาสูบนั้น เป็นการดำเนินการตามกรอบอนุสัญญาฯ แต่มีการผ่อนปรนลงมา ทั้งที่จริแล้วต้องห้ามทั้งหมด ซึ่งการทำซีเอสอาร์ถือเป็นส่วนหนึ่งของการโฆษณา สื่อสารการตลาด ทำให้ภาพลักษณ์ดูดี ซึ่งจะเป็นอุปสรรคต่อการออกกฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวกับการควบคุมยาสูบ เพราะกลุ่มที่ได้รับการสนับสนุนจะออกมาคัดค้าน ส่วนประเด็นเจ้าของสถานที่สาธารณะนั้น ก็จะต้องมีการติดประกาศประชาสัมพันธ์ห้ามสูบบุหรี่ เมื่อพบคนฝ่าฝืนต้องตักเตือน หากห้ามไม่ไก็ให้แจ้งเจ้าหน้าที่ ซึ่งผู้ที่จะดำเนินการจะเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจหรือเจ้าหน้าที่ตามที่ รมว.สาธารณสุข แต่งตั้ง แต่หากไม่ปฏิบัติตามเจ้าของสถานที่ก็จะมีความผิดด้วย อย่างไรก็ตาม กฎหมายใหม่ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันเยาวชนไม่ให้เข้าไปสู่การเป็นนักสูบหน้าใหม่ สิ่งสำคัญคือต้องอาศัยจิตสำนึกของผู้ค้าในการที่จะไม่ขายให้แก่เยาวชนต่ำกว่า 20 ปี และไม่แสดงสินค้า ณ จุดขายปลีก 


#eosgear,#ถุงมือกันบาด,#อะไหล่ victorinox,#victorinox มือสอง,#cutting resistance glove,ไร่รักษ์ไม้,สวนศิริผล,อุปกรณ์แค้มปิง,อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,เอาตัวรอดในภาวะวิกฤต

Tags : พ.ร.บ.ยาสูบฉบับใหม่ บังคับใช้ 4 ก.ค. เน้นคุ้มครองสุขภาพ ผู้ไม่สูบบุหรี่ เยาวชน

view