สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

แล้งต้องรู้ เปียกสลับแห้ง ปลูกข้าวแบบใช้น้ำน้อย

จาก ASTVผู้จัดการออนไลน์

แล้งต้องรู้ “เปียกสลับแห้ง” ปลูกข้าวแบบใช้น้ำน้อย
ผศ.ดร.ศุภธิดา อ่ำทอง


        เพราะตระหนักว่าการปลูกข้าวมีความสำคัญต่อประเทศ ไม่ว่าอย่างไรคนไทยต้องปลูกข้าว ขณะเดียวกันภัยแล้งก็เป็นปัญหาคุกคามชาวนาอย่างต่อเนื่อง นักวิชาการจากแม่โจ้จึงมุ่งมั่นศึกษาการปลูกข้าวแบบใช้ในน้ำน้อยแต่ยังให้ผล ผลิตดี
       
       การปลูกข้าวแบบเปียกสลับแห้งเป็นเทคนิคการปลูกข้าวแบบใช้น้ำน้อยที่ “ผศ.ดร.ศุภธิดา อ่ำทอง” ผู้ช่วยคณบดีคณะผลิตกรรมการเกษตร และประธานหลักสูตรปฐพีศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ แนะนำให้ทีมข่าวผู้จัดการวิทยาศาสตร์ได้รู้จัก โดยเธอระบุว่าได้รับทุนจากหลายหน่วยงาน รวมถึงสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เพื่อศึกษาเกี่ยวกับการจัดการน้ำในระบบปลูกข้าว โดยเฉพาะช่วง 2-3 ปีทีผ่านมามีภัยแล้งหนักติดต่อกัน
       
       เมื่อเทียบกับปัญหาน้ำท่วมแล้วการเผชิญต่อภัยแล้งเป็นวงรอบที่ เกษตรกรไทยพบได้มากกว่า เธอจึงให้ความสำคัญต่อเรื่องนี้เป็นพิเศษ และสนใจว่าปริมาณน้ำฝนที่ลดลงเกี่ยวข้องกับระบบการปลูกข้าวอย่างไร เนื่องจากระบบการปลูกข้าวในเมืองไทยอาศัยน้ำฝนเป็นหลัก และระบบชลประทานยังไม่เข้าไปเต็มพื้นที่
       
       "แล้วเราจะมีแนวทางจะทำอย่างไร เพราะเราคงจะหลีกเลี่ยงการปลูกข้าวไม่ได้ ถึงอย่างไรข้าวก็เป็นพืชอาหารสำคัญของเมืองไทย และยังเป็นพืชส่งออกด้วย แม้ว่าเพื่อนบ้านเราจะแซงหน้าไปหมดแล้ว ส่วนหนึ่งอาจเพราะปัญหาภัยแล้งด้วย งานวิจัยจึงมองในเรื่องการจัดการน้ำเพื่อปลูกข้าวให้ได้" ผศ.ดร.ศุภธิดากล่าว
       
       สำหรับระบบการปลูกข้าวแบบใช้น้ำน้อยหรือที่เรียกว่าการปลูกข้าวระบบ เปียกสลับแห้ง คือการทำให้ภาวะช่วงหนึ่งของดินสำหรับปลูกข้าวอยู่ในสภาวะขาดน้ำ ปล่อยให้น้ำในบริเวณรากข้าวค่อยๆ แห้งไป แล้วจึงให้น้ำใหม่อีกครั้ง วิธีการแบบนี้จะทำให้ดินอยู่ในสภาพเปียกแล้วก็แห้ง เปียกแล้วก็แห้ง สลับไปเรื่อยๆ
       
       "เมื่อเปรียบกับการใช้น้ำแบบดั้งเดิมที่ทำกันทั่วไปที่ใช้น้ำใน ปริมาณที่มาก หรือที่เรียกว่าใช้น้ำระบบน้ำขัง กับการใช้น้ำน้อยแบบเปียกลับแห้ง จะเห็นว่าการใช้น้ำพื้นที่ต่อพื้นที่ทั้งสองระบบแตกต่างกันอย่างชัดเจน" ผศ.ดร.ศุภธิดากล่าว และบอกว่าจากการศึกษานั้นการปลูกแบบเปียกสลับแห้งใช้น้ำน้อยลงได้ถึง 20%
       
       ผศ.ดร.ศุภธิดา กล่าวว่าการปลูกข้าวแบบเปียกสลับแห้งนั้นไม่ใช่เทคนิคใหม่และศึกษากันหลาย พื้นที่ในโลก เช่น จีน เวียดนาม กัมพูชา และฟิลิปปินส์โดยเฉพาะจีนซึ่งมีองค์ความรู้ที่ก้าวหน้า และพัฒนาพันธุ์ข้าวที่เหมาะสมต่อการปลูกข้าวแบบเปียกสลับแห้งโดยเฉพาะ จนสามารถลดการใช้น้ำได้ถึง 45% และจากการศึกษาของเธอนั้น
       
       จากการศึกษาทั้งของ ผศ.ดร.ศุภธิดา และการศึกษาจากทั่วโลกมีความชัดเจนว่าการปลูกข้าวแบบเปียกสลับแห้งนั้นเพิ่ม ประสิทธิภาพการใช้น้ำ ลดการใช้น้ำลง แต่การเจริญเติบโตของข้าวไม่ได้ลดลง ซึ่งการหาคำตอบว่าการปลูกข้าวภายใต้ระบบดังกล่าวส่งผลต่อการเจิรญเติบโตของ ข้าวอย่างไรเป็นเรื่องจำเป็น เนื่องจากเกษตรกรมองเรื่องผลผลิตเป็นหลัก การเปลี่ยนแปลงจึงต้องทำให้ผลผลิตคงเดิมหรือมากขึ้นได้ยิ่งดี
       
       “ไม่ใช่แค่งานวิจัยของดิฉัน แต่ยังมีงานวิจัยของทั่วโลกทั้งจีน เขมร เวียดนาม เค้าปลูกข้าวเหมือนเราและตระหนักถึงปัญหาภัยแล้งเช่นกัน ตอนนี้ระบบการปลูกข้าวแบบเปียกสลับแห้งกระจายไปทั่วภูมิภาคแล้ว เพราะทั่วโลกต้องตระหนักว่าเราขาดแคลนน้ำ ซึ่งงานวิจัยพบว่าระบบเปียกสลับแห้งไม่ได้ทำให้ผลผลิตลดลง” ผศ.ดร.ศุภธิดากล่าว
       
       ในการศึกษาของ ผศ.ดร.ศุภธิดา นั้นแบ่งดินเป็นสามชุดคือดินเนื้อหยาบ ดินเนื้อร่วน และดินเนื้อเหนียว โดคัดชุดดินมาเป็นตัวแทนของดินปลูกข้าว และพบว่าดินเนื้อร่วนเหนียวหรือดินเนื้อปานกลางที่มีส่วนผสมระหว่างดิน เหนียวผสมร่วนตอบสนองต่อการปลูกแบบเปียกสลับแห้งได้ค่อนข้างดี แต่เนื้อเหนียวเกินไปเมื่อปล่อยให้แห้งจะเกิดเป็นร่องแตกระแหงและจัดการยาก ส่วนดินเนื้อหยาบตอบสนองดีแต่ต้องให้น้ำบ่อย เพราะโครงสร้างดินเก็บน้ำได้ไม่ค่อยดี วงรอบในการให้น้ำแก่ดินชนิดนี้ต้องให้บ่อยและใช้น้ำเยอ
       
       "จากการศึกษาในกระถาง เนื้อหยาบมีวงรอบให้น้ำ 3-5 วัน ดินร่วนเหนียวมีวงรอบให้น้ำ 7 วัน แล้วยังทิ้งได้ 1-2 วัน เพื่อให้ดินเกิดเป็นรอยแตก แล้วจึงค่อยให้น้ำกลับเข้าไปใหม่ เช่นเดียวกับดินเนื้อเหนียว แต่เรื่องการตอบสนองต่อการเติบโตนั้นดินเนื้อหยาบและดินเนื้อปานกลางดีกว่า ดินเนื้อเหนียว สำหรับดินร่วนเหนียวพบได้ทั่วไปในบ้านเรา สามารถสืบค้นได้จากฐานข้อมูลในเว็บไซต์ของกรมพัฒนาที่ดิน" ผศ.ดร.ศุภธิดา กล่าว
       
       สำหรับเกษตรกรผู้สนใจการปลูกข้าวแบบเปียกสลับแห้ง ผศ.ดร.ศุภธิดาแนะนำว่าอันดับแรกต้องรู้จักแหล่งน้ำในแหล่งเพาะปลูกของตัวเอง เพื่อพิจารณาว่าสามารถจัดการน้ำแบบเปียกสลับแห้งได้หรือไม่ หากมีแหล่งน้ำเพียงพอและเอื้อต่อการจัดการน้ำก็สามารถใช้เทคนิคนี้ได้ และต้องรู้จักดินในพื้นที่ของตัวเองว่ามีลักษณะอย่างไร เพื่อจัดการให้น้ำได้
       
       “ถ้าเกษตรกรถ้ามีความรู้เรื่องการปลูกข้าวอยู่แล้วก็ไม่ยาก ขังน้ำแล้วก็ปล่อยให้แห้ง และก็ขังน้ำ ทำได้ไม่ยา ส่วนการจัดปุ๋ยให้ปุ๋ยสอดคล้องการออกผลผลิตเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ ละเลยไม่ได้ ธาตุหลักใส่ไปทีเดียวได้ แต่ไนโตรเจน ต้องแบ่งให้ถี่หน่อย รองพื้น ออกรวง บำรุงดอก อย่างน้อย 3 ครั้ง ใส่ช่วงดินแห้ง ก่อนขังน้ำ จะสะดวกสำหรับเกษตรกร และจัดการได้ง่ายกว่าดินเปียก” ผศ.ดร.ศุภธิดากล่าว
       
       นอกจากจัดการน้ำแล้วเรื่องการจัดการปุ๋ยเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องทำควบ คู่กันไป โดย ผศ.ดร.ศุภธิดา ระบุว่าองค์ความรู้เรื่องการให้น้ำนั้นไม่ค่อยยาก และส่วนมากเกษตรกรที่สนใจทางด้านนี้ก็มีความก้าวหน้ากว่านักวิจัยไปมาก แต่การศึกษาเรื่องจัดการปุ๋ยยังต่อทำต่อไป ซึ่งเธอมีโอกาสได้พูดคุยกับผู้ทรงคุณวุฒิจากกรมวิชาการเกษตร ซึ่งได้กล่าวสนับสนุนเธอในการจัดการปุ๋ยภายใต้การปลูกแบบเปียกสลับแห้ง
       
       “เรื่องปลูกเปียกสลับแห้งนี้มีมานานแล้ว แต่องค์ความรู้เรื่องการจัดการปุ๋ยนั้น ใช่ว่าจะลงตัวกับระบบการจัดการน้ำ และเราก็ละเลยผลผลิตของเกษตรกรไม่ได้ เราจะทำอย่างใจให้ผลผลิตเท่าเดิมหรือมากขึ้นโดยใช้น้ำน้อยลง เรื่องปุ๋ยอยู่ระหว่างการศึกษาลงลึกไป 4-5 ปีที่ศึกษามาเป็นการศึกษาผลจากชนิดของดิน และการให้น้ำ ซึ่งเห็นชัดเจนว่าผลผลิตไม่ได้ลดลงแต่เราต้องจัดการปุ๋ยให้ได้”
       
       สิ่งที่สำคัญในการจัดการปุ๋ยนั้นต้องให้ธาตุอาหารที่จำเป็นแก่ข้าว โดยเฉพาะไนโตรเจนที่ขาดไม่ได้ ซึ่งหลักๆ เธอเพิ่งศึกษาข้าวไม่กี่สายพันธุ์ เช่น ข้าวมะลิ 105 ข้าวสันป่าตอง 10 และทดลองทั้งพันธุ์ข้าวไวแสงและไม่ไวแสง โดยจัดการธาตุอาหารในดินตามสภาพเนื้อดิน
       
       “ข้าวเจริญเติบโตได้ดีจากปุ๋ยไนโตรเจนสองรูปแบบคือ แอมโมเนียม และไนเตรต อยู่ในดินในช่วงเวลาเดียวกัน และเผอิญว่าการปลูกแบบเปียกสลับแห้ง ส่งเสริมการเกิดไนโตรเจนสองลูกแบบนี้ น้ำขังไนโตรเจนจะอยู่ในรูปของแอมโมเนียม และยับยั้งกระบวนการเกิดไนเตรต เราจึงเห็นว่าข้าวภายใต้การปลูกแบบเปียกสลับแห้งนั้น แตกกอดี ตอบสนองต่อการใช้ไนโตรเจนค่อนข้างดี" ผศ.ดร.ศุภธิดากล่าวถึงข้อดีของการปลูกข้าวแบบเปียกสลับแห้งที่มีผลต่อธาตุ อาหารในดิน

แล้งต้องรู้ “เปียกสลับแห้ง” ปลูกข้าวแบบใช้น้ำน้อย

ชุดสาธิตการปลูกข้าวแบบใช้น้ำน้อย (เปียกสลับแห้ง)

แล้งต้องรู้ “เปียกสลับแห้ง” ปลูกข้าวแบบใช้น้ำน้อย

ท่อแสดงระดับน้ำในดินจากระบบการปลูกข้าวแบบแล้งสลับแห้ง




ไร่รักษ์ไม้,มูลไส้เดือน,ปุ๋ยมูลไส้เดือน,เกษตรแปรรูป,อุปกรณ์แค้มปิง,อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,เอาตัวรอดในภาวะวิกฤต

Tags : แล้งต้องรู้ เปียกสลับแห้ง ปลูกข้าวแบบใช้น้ำน้อย

view