สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

เปิดรายงานสตง.สับเละ อุ้มราคายางพารา

จาก โพสต์ทูเดย์

เปิดหนังสือสตง.ส่งถึงนายกฯ เผยผลตรวจสอบโครงการรักษาเสถียรภาพราคายางพารา"เสี่ยงสูง-แนวโน้มไม่บรรลุวัตถุประสงค์"

จาก การตรวจสอบของโพสต์ทูเดย์ พบว่า สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน ได้มีหนังสือถึง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 14พ.ย. 2555  เรื่องการตรวจสอบโครงการพัฒนาศักยภาพสถาบันเกษตรกร เพื่อรักษาเสถียรภาพราคายางพารา ซึ่งมีประเด็นที่น่าสนใจดังนี้

ด้วย สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สต.) ได้รับข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินโครงการพัฒนาศักยภาพสถาบันเกษตรกรเพื่อรักษา เสถียรภาพราคายางพารา ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่  24 ม.ค.  2555   วัตถุประสงค์เพื่อ  1. รักษาเสถียรภาพราคายาง โดยการชะลอการจำหน่ายออกสู่ตลาดในช่วงราคายางผันผวน  2.เพื่อพัฒนาศักยภาพสถาบันเกษตรกรในการรักษาเสถียรภาพราคายาง โดยสนับสนุนวงเงินกู้ให้กับสถาบันเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการเพื่อใช้รับซื้อ น้ำยางสด หรือยางแผ่นดิบ หรือยางก้อนถ้วยมาแปรรูปเพื่อส่งขายให้กับองค์การสวนยาง(อสย.)  นำไปแปรรูปเป็นน้ำยางข้น  ยางแผ่นรมควัน  ยางแผ่นรมควันอัดก้อน ยางแท่ง  เก็บรักษาไว้รอจำหน่ายเมื่อราคาเหมาะสม  และตั้งเป้าหมายการดำเนินการโครงการว่าจากวิธีดังกล่าวจะทำให้ราคายางในตลาด สูงขึ้นถึง  120 บาท วงเงินงบประมาณ  1.5 หมื่นล้านบาท และเมื่อ  14 ก.ย.  2555   ครม.ได้อนุมัติงบประมาณเพิ่มให้อีก  3 หมื่นล้ านบาท ระยะเวลาดำเนินโครงการ ม.ค.  2555- มี.ค.  2556

สต ง. ได้ตรวจสอบโครงการฯ ซึ่งอยู่ระหว่างการดำเนินโครงการ พบว่า ยังมีความเสี่ยงและมีแนวโน้มไม่บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการที่ กำหนดไว้ สรุปได้ว่า

1.มี แนวโน้มไม่บรรลุวัตถุประสงค์ในด้านการพัฒนาศักยภาพสถาบันเกษตรกร เพื่อรักษาเสถียรภาพราคายาง โดยพิจารณาจากกิจกรรม หรือการประกอบธุรกิจที่สถาบันเกษตรกร เช่น สหกรณ์กองทุนสวนยางดำเนินการ และเงื่อนไขตลอดจนข้อตกลงที่ให้กับสถาบันเกษตรกรกู้ยืมเงินตามโครงการ    ซึ่งพบว่าเป็นเพียงการให้กู้ยืมเงินจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การ เกษตร(ธกส.) เพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการรับซื้อยางพาราจากเกษตรกรที่เป็นสมาชิก โดยมิได้ให้กู้ยืมไปลงทุนในการแปรรูปน้ำยางสด หรือยางแผ่นดิบ เพื่อเก็บรักษายางหรือลดอุปทานยางในช่วงราคาตกต่ำ

โดย จากการตรวจสอบที่จังหวัดสุราษฏร์ธานี พบว่าสหกรณ์กองทุนสวนยาง จะเก็บบางไว้เองไ ด้ไม่เกิน  7 วันท่านั้น  นอกจากนี้การดำเนินการโดยอสย. ที่รับซื้อยางจากสถาบันเกษตรกรนั้น เป็นเพียงมาตรการระยะสั้นเพื่อช่วยให้เกษตรกรชาวสวนยางสามารถจำหน่ายยางได้ ในราคาสูงขึ้นเท่านั้น  แต่ยังไม่พบว่ามีการจัดทำแผนการบริหารจัดการผลผลิตยางที่ได้รับซื้อไว้อย่าง เป็นรูปธรรมแต่อย่างใด

2.ราคา รับซื้อยางพารา ยังไม่เป็นไปตามเป้าหมายของโครงการที่ต้องการให้อยู่ในระดับประมาณ  120 บาทต่อกิโลกรัม โดยพิจารณาจากราคายางพาราตั้งแต่เดือน ม.ค.-ต.ค.  2555 ยังไม่พบว่าราคายางสูงขึ้นไปถึง 120 บาทต่อกก. ทั้งยางที่รับซื้อในโครงการและราคารับซื้อยางในท้องตลาดทั่วไป

3. การบริหารจัดการโครงการนในเรื่องของการซื้อยางมาแปรรูปและเก็บรักษา บางพื้นที่ประสบปัญหาสถานที่จัดเก็บไม่เพียงพอ  ซึ่งตามขั้นตอนการดำเนินโครงการ อสย. เป็นผู้รับซื้อยางแผ่นดิบ ยางแผ่นรมควันจากสถาบันเกษตรกรหรือรัฐวิสาหกิจชุมชน   เพื่อนำไปแปรรูปเป็นยางอัดก้อน แล้วนำไปเก็บรักษาไว้ยังสถานที่  ที่ อสย.โดยในทางปฏิบัติ อสย. ได้จ้างบริษัทเอกชนที่ดำเนินธุรกิจโรงงานอัดก้อนยาง โดยตั้งเป็นจุดรับซื้อและดำเนินการแปรรูปยางแผ่นดิบแทน เมื่อแปรรูปเสร็จ อสย.จะนำยางไปเก็บไว้ยังสถานที่ของ อสย.  ซึ่งจากการสังเกตการณ์เฉพาะจุดรับซื้อยาง ณ โรงงานอัดก้อนยางเพียรประดิษฐ์ จ.สุราษฏร์ เมื่อวันที่  16 ต.ค.  2555  พบว่ามียางแผ่นดิบที่รับซื้อจากสถาบันเกษตรกรจำนวน  2.5 แสนกิโลกรัม หรือประมาณ 254  ตัน วางกองอยู่กลางแจ้ง โดยมีผ้าคลุมที่มีสภาพชำรุดมีช่องโหว่ปิดอยู่ แต่ไม่มิดชิด  

จาก การสอบถามประกอบการตรวจสอบสมุดบันทึกการรับจ่ายยางปรากฏว่าโรงงานดัง กล่าว รับซื้อยางแผ่นดิบตั้งแต่  20 ส.ค.  2555  แต่ต้องชะลอการแปรรูป เนื่องจากสถานที่ของโรงงานมีจำกัดและต้องใช้พื้นที่เพื่อเก็บยางอัดก้อนของ โรงงานเอง ที่สำคัญยังมียางจำนวนหนึ่งที่แปรรูปเป็นยางอัดก้อนแล้ว แต่อสย. ยังไม่ได้ขนย้ายออ กไป ซึ่งจากการตรวจสอบพบว่า ยังมียางอัดก้อนดังกล่าวกองยู่ทั้งด้านนอกและด้านในโรงเก็บยางบในบริเวณโรง งาน  3 แห่ง โดยวางทับซ้อนกันมากกว่า  6 ชั้น ทั้งนี้ผู้บริหารโรงงานให้ข้อมูลว่าสาเหตุเกิดจากสถานที่จัดเก็บของอสย.ไม่ เพียงพอ และยังไม่สามารถระบายหรือจำหน่ายยางที่จัดเก็บไว้ได้ สำหรับยางแผ่นดิบที่ยังไม่ได้แปรรูปหากยิ่งนานไปจะทำให้ยางติดกันเป็นก้อน ซึ่งยากต่อการนำไปแปรรูป เป็นเชื้อรา มีความชื้นสูง เสื่อมคุณภาพ และส่งผลต่อราคายาง

4.การ ดำเนินการโครงการมีความเสี่ยงต่อการสวมสิทธิ์นำยางมาขายให้แก่ อสย. เช่นการที่เกษตรกรรายย่อยไม่สามารถขายยางให้แก่อสย.ได้โดยตรง หลักเกณฑ์เหล่านี้เป็นข้อจำกัดทำให้เกษตรกรมีความจำเป็นที่ต้องขายยางให้แก่ พ่อค้าในราคาต่ำ และอาจะเป็นช่องทางให้พ่อค้าบางรายนำยางไปสวมสิทธิ์เพื่อขายให้แก่อสย. โดยอาจร่วมมือกับเจ้าหน้าที่บางคน หรือสถาบันเกษตรกรบางแห่งอาจใช้เป็นช่องทางในการรับซื้อยางจากเกษตรกรที่ไม่ ใช่สมาชิกโดยมีการคิดค่าบริหารจัดการและนำมาสวมสิทธิ์เพื่อขายให้อสย.ทำกำไร อีกทอด

นอก จากนี้จากการประชุมร่วมกับเจ้าหน้าที่ของธกส.และผู้บริหารสถาบันเกษตร กรที่จ.สุราษฏร์ ได้ให้ข้อมูลที่ยังมีความเสี่ยงได้แก่ การที่ไม่สามารถตรวอจควบคุมปริมาณยางที่เกษตรกรนำมาขา ยได้อย่างชัดเจน เพราะ อสย.ไม่มีฐานข้อมูลเกษตรกรรองรับในกรณีที่เกษตรกรไม่ได้เป็นสมาชิกสถาบัน เกษตรกร ประกอบกับการตรวจสอบข้อมูลสถาบันเกษตรกรจนยางมาขาย ไม่สามารถดำเนินการสอบยันได้อย่างรวดเร็วและทันที ยังคงใช้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบ ทำให้การตรวจสอบใช้เวลามากและทำได้ยาก ซึ่งเป็นช่องว่างให้สวมสิททิ์ได้ง่าย

5.จุด รับซื้อของอสย. ยังไม่ครอบคลุมทุกพื้นที่ จากการประชุมร่วมกับเจ้าหน้าที่ของสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน เจ้าหน้าที่ธกส. และผู้บริหารสถาบันเกษตรกรบางแห่งได้ให้ข้อมูลว่า ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินโครงการฯ ประการหนึ่งคือ จุดรับซื้อยางของ อสย. ยังไม่ครอบคลุมทุกพื้นที่ เนื่องจากไม่มีโรงงานแปรรูปยางโดยเฉพาะในพื้นที่ที่ปลูกยางและสถาบันเกษตรกร ที่เข้าร่วมโครงการมีจำนวนมาก รวมทั้งจุดรับซื้อของอสย.ยังอยู่ไกล ทำให้เกษตรกรต้องแบกรับค่าขนส่ง ขณะที่การลงยางที่จุดรับซื้อยังล่าช้า สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรไม่สามารถส่งยางได้ภายใน 1 วัน ทำให้เกิดการสะสมและไม่สามารถขายยางที่เหลือต่อไปได้

สต ง.มีความห่วงใยและพิจารณาแล้วเห็นว่าในการดำเนินโครงการฯในระยะเวลาที่ เหลืออยู่  ควรเป็นไปอย่างรอบคอบ รัดกุม โดยต้องกำหนดมาตรการป้องกันหรือลดความเสี่ยงในเรื่องต่างๆ ตามข้อเท็จจริงที่ได้นำเสนอมาทั้ง 5 ข้อ ทั้งนี้เพื่อเป็นการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น และเพื่อให้การดำเนินโครงการมีโอกาสบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายโครงการมาก ขึ้น อันจะส่งผลต่อประสิทธิภาพและเกิดความคุ้มค่าในการใช้จ่ายเงินงบประมาณ


ไร่รักษ์ไม้,มูลไส้เดือน,เกษตรแปรรูป,อุปกรณ์แค้มปิง,อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,เอาตัวรอดในภาวะวิกฤต

Tags : เปิดรายงานสตง. สับเละ อุ้มราคายางพารา

view