สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

3 เดือนคณะทำงานส่งออก ย่ำอยู่กับที่ ไร้รูปธรรมในการแก้ไขปัญหา

จากประชาชาติธุรกิจ

การ ออกมายอมรับความจริงของนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี ที่ว่าอัตราขยายตัวของการส่งออกสินค้าไทยประจำปี 2555 ไม่มีทางที่จะไปถึงร้อยละ 15 ตามที่ตั้งเป้าหมายเอาไว้นั้น จัดเป็นการยอมรับหลังจากที่ตัวเลขการส่งออก "ของจริง" ได้ผ่านพ้นช่วง 6 เดือนแรกของปี 2555 ไปแล้ว ด้วยอัตราขยายตัวเพียงร้อยละ 2.89 เท่านั้น และยิ่งย่ำแย่เข้าไปอีกเมื่อตัวเลขการส่งออกเดือนสิงหาคม ซึ่งเป็นตัวเลขล่าสุดปรากฏออกมาว่า ประเทศ ไทยสามารถส่งออกคิดเป็นมูลค่า 19,750.2 ล้านเหรียญ หรือลดลงร้อยละ 6.95 ส่งผลให้การส่งออกสินค้าไทยในรอบ 8 เดือน (ม.ค.-ส.ค.) มีมูลค่าเพียง 151,559.3 ล้านเหรียญ หรือลดลงร้อยละ 1.31



ทั้ง หมดนี้กระทรวงพาณิชย์ให้เหตุผลว่า ที่การส่งออกลดลงเป็นเพราะสภาวะเศรษฐกิจยุโรปและการลุกลามของปัญหาส่งผล กระทบต่อการนำเข้าสินค้าไทยในเกือบทุกตลาด หันมาพิจารณาเป็นรายหมวดสินค้าพบว่า ในระยะ 8 เดือนแรก
การส่งออกสินค้า เกษตรของประเทศไทยลดลงมากที่สุดถึงร้อยละ 10.3 โดยสินค้าที่ลดลงมากที่สุด ได้แก่ ข้าว -36.8%, ยางพารา -30%, กุ้งแช่แข็ง/แปรรูป -13.9%

จะ เห็นได้ว่าข้าว และยางพารา ไม่ใช่สินค้าเกษตรที่สามารถสร้างรายได้ให้กับการส่งออกสินค้าไทยต่อไปแล้ว ส่วนสำคัญมาจากความ "ผิดพลาด" ในนโยบายของรัฐบาลที่ประกาศรับจำนำข้าวทุกเมล็ดภายในประเทศ ด้วยราคารับจำนำที่ "สูงเกินจริง" มากกว่าราคาตลาดโลก มิหนำซ้ำรัฐบาลกำลังทำตัวเป็นผู้ส่งออกข้าวแข่งกับภาคเอกชน ด้วยการมีสต๊อกข้าวอยู่ในมือมากกว่า 10 ล้านตัน แต่ระบายออกไปได้ไม่ถึง 300,000 ตัน ด้วยต้นทุนการรับจำนำมากกว่า 500,000 ล้านบาท ส่งผลให้ข้าวไทยไม่สามารถแข่งขันในตลาดโลก และจะกลายเป็นปัญหาต่อไปในปี 2556

ในขณะที่ยางพารา ก็มีสภาพไม่ต่างไปจากข้าว จากการดำเนินนโยบายที่ผิดพลาดในอดีต ทั้งการส่งเสริมการปลูกยาง 10 ล้านไร่ ส่งผลให้ผลผลิตยางพาราอยู่ในภาวะ "ล้นตลาด" เมื่อราคายางในตลาดโลกตกต่ำลง รัฐบาลไม่สามารถจัดการได้

หันมาดูการส่งออกสินค้าหมวดอุตสาหกรรม ในรอบ 8 เดือนแรกลดลง 0.7% โดยสินค้าที่ส่งออกลดลงมากที่สุด ได้แก่ อิเล็กทรอนิกส์ -5.7%, เครื่องใช้ไฟฟ้า -3.2%, เม็ดพลาสติก/ผลิตภัณฑ์ -3.5%, สิ่งทอ -15.3%, อัญมณี/เครื่องประดับ -5.8%

แน่นอนว่าต้นทุน การผลิตสินค้าอุตสาหกรรมของไทยได้รับผลกระทบจากนโยบายการขึ้นค่าแรง 300 บาทของรัฐบาลแน่นอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสินค้าสิ่งทอ เห็นได้ชัดและเริ่มที่จะทยอยย้ายฐานการผลิตออกไปในประเทศเพื่อนบ้าน ในขณะที่สินค้าอัญมณีได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจในยุโรปอย่างเห็นได้ชัด ส่งผลให้รถยนต์อุปกรณ์และส่วนประกอบกลายเป็นความหวังเดียวที่จะขับเคลื่อน การส่งออกสินค้าไทยในอีก 4 เดือนข้างหน้า

ถามว่าภาวะย่ำแย่ของการส่งออกสินค้าไทยในลักษณะนี้ รัฐบาลได้ทำอะไรไปแล้วบ้าง ?

สิ่ง ที่รัฐบาลชุดนี้ได้ดำเนินการไปก็คือ การตั้งคณะทำงานเพื่อแก้ไขปัญหาอุปสรรคและผลักดันการส่งออกไทย ตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 160/2555 วันที่ 16 กรกฎาคม 2555 แปลว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี จะลงมาเล่นเอง

ผลของคำสั่งนี้ นำมาซึ่งการตั้งคณะทำงานขึ้นมาอีก 4 ชุด ประกอบไปด้วย คณะทำงานติดตามสถานการณ์และขับเคลื่อนการส่งออกไปตลาดภูมิภาคยุโรปและตลาด ศักยภาพอื่น ๆ, คณะทำงานส่งเสริมการสร้างฐานการผลิตในประเทศเพื่อนบ้านและการค้าชายแดน และคณะทำงานแก้ไข

ปัญหาอุปสรรคและผลักดันการส่งออกรายสินค้า ทั้ง 3 คณะนี้ให้ นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธาน ส่วนคณะทำงานชุดที่ 4 คือ คณะทำงานแก้ไขปัญหากฎระเบียบและภาษีที่ไม่เหมาะสมและเป็นอุปสรรคทางการค้า นั้น มอบหมายให้ปลัดกระทรวงการคลัง เป็นประธานเฉพาะการดำเนินการของกระทรวงพาณิชย์ ได้มีการตั้งคณะทำงานกลุ่มย่อยเพิ่มเติมอีก 4 คณะ นัยว่าเพื่อศึกษาวิเคราะห์ประมวลผลและสรุปปัญหาอุปสรรคเป็นรายสินค้า ประกอบไปด้วย สินค้าอาหาร, อัญมณี/เครื่องประดับ, สิ่งทอ/เครื่องนุ่งห่ม และสินค้าเกษตร (ข้าว-มันสำปะหลัง-ยางพารา) ทั้ง 4 สินค้ามีตัวเลขการส่งออกลดลงอย่างเห็นได้ชัด

ทว่าเป็นที่น่าเสียใจ ที่คณะทำงานกลุ่มย่อย ยังคงศึกษาวิเคราะห์ "วนเวียน" อยู่บนวิธีคิดเดิม ๆ เรื่องเดิม ๆ ปัญหาเดิม ๆ หรือเรียกได้ว่า "ไม่มีอะไรใหม่" ยกตัวอย่างกลยุทธ์ในการผลักดันการส่งออก ได้แก่ การแสวงหาโอกาสในตลาดเดิมหรือตลาดที่มีปัญหาและแสวงหาโอกาสใน "ตลาดใหม่" หรือตลาดที่มีศักยภาพ แต่ปัญหาก็คือในโลกนี้ยังมีตลาดใหม่อยู่อีกหรือ และตลาดที่มีศักยภาพมันอยู่ที่ใดบ้าง ?หรือสิ่งทอขาดการพัฒนาผลิตภัณฑ์แฟชั่นในเชิงลึกเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม การสนับสนุนการลงทุนในประเทศเพื่อนบ้าน การขาดแคลนแรงงาน แต่ไม่ยักบอกถึงการขึ้นค่าแรง 300 บาท ?

ยิ่งการส่งออกข้าวและ ยางพารา ซึ่งเป็นสินค้าเกษตรที่สามารถสร้างรายได้เข้าประเทศอย่างสำคัญ แต่กลับต้องประสบปัญหา "ต้นทุน" สูงขึ้นจากนโยบายการรับจำนำของรัฐบาลชุดนี้ กลับไม่มีการพูดถึงเลย มันหมายความว่าอะไร หรือส่งออกข้าวไม่ได้ไม่ใช่ปัญหาของรัฐ ทั้ง ๆ ที่รัฐบาลเป็นผู้ก่อ ?

สิ่ง เหล่านี้ล้วนแสดงให้เห็นถึงความด้อยประสิทธิภาพ ไม่ทันต่อภาวะที่เปลี่ยนแปลงไปของโลก มัวแต่มืดมัวอยู่ในความฝันด้วยการสรุปผลการทำงานของคณะทำงานทั้ง 4 ชุดเสนอ ครม.ว่า พร้อมจะจัดประชุมต่อเนื่องกันต่อไปทุก ๆ เดือน (เหมือนรอเวลาให้หมดปี 2555) เพื่อศึกษาวิเคราะห์สรุปประเด็นปัญหา แต่ไม่มีการแก้ไขอย่างเป็นรูปธรรมอย่างใดทั้งสิ้นออกมาจากรัฐบาลชุดนี้


'กิตติรัตน์' ยันจีดีพีปีนี้โต 5-6%

"กิตติ รัตน์"เผยประชุมครม.ยันจีดีพีปีนี้โตตามเป้า5-6% เผยเศรษฐกิจขยายตัวแล้ว 5.5% เผยนายกฯสั่งขับเคลื่อนเศรษฐกิจหวังตัวเลขไตรมาสสุดท้ายสดใส
นาย กิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจ ที่มีนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตนายกรัฐมนตรีเป็นประธานว่าภาวะเศรษฐกิจทุกอย่างที่รัฐบาลติดตามอยู่ ยังคงอยู่ในระดับที่มีเสถียรภาพ แม้ว่าข้อมูลในเดือน ก.ย.ที่ผ่านมาเงินเฟ้อขยับสูงขึ้น เป็นสาเหตุมาจากการปรับเพิ่มขึ้นของราคาสุราและยาสูบที่เพิ่มขึ้นจากการปรับ ภาษีสรรพสามิต ส่วนราคาน้ำมันที่ปรับเพิ่มขึ้นก็เป็นไปตามการเคลื่อนไหวของราคาในตลาดโลก

ส่วน ตัวเลขภาคการส่งออกที่ปรับตัวลดลงจากภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัวลง ก็เป็นสัญญาณว่าเศรษฐกิจของไทยจะพึ่งพาภาคส่งออกเป็นหลักในการผลักดันเศรา ฐกิจให้เติบโตต่อไปในอนาคตไม่ได้แล้ว อย่างไรก็ตามแม้ตัวเลขภาคการส่งออกจะลดลงแต่เศรษฐกิจของประเทศยังขยายตัวได้ จากภาคส่วนอื่นๆทำให้เป้าหมายการขยายตัวเศรษฐกิจ (จีดีพี) ซึ่งอยู่ที่ระดับ 5-6% รัฐบาลสามารถทำได้ โดยในปัจจุบันเศรษฐกิจขยายตัวอยูที่ระดับ 5.5-5.7% แล้ว อย่างไรก็ตามนายกรัฐมนตรีได้กำชับในที่ประชุมว่าในการทำงานด้านเศรษฐกิจ หน่วยงานต่างๆ ต้องทำงานอย่างเต็มที่ต่อไป เพราะยังเหลืออีก 1 ไตรมาสในปีนี้

“กระทรวง พาณิชย์รับนโยบายไปให้ไปทำตลาดใหม่ในประเทศเดิมๆที่เคยเข้าไปทำตลาด เช่น มลฑลต่างๆในจีน ยุโรปเมืองรองๆ หรืออาจหาเซ็กเมนต์ใหม่ในสินค้าเดิม ซึ่งต้องทำงานหลายฝ่าย เสถียรภาพอัตราแลกเปลี่ยน รวมทั้งการทำเทรดแฟร์ในต่างประเทศก็ต้องทำต่อเนื่อง”

นาย กิตติรัตน์ กล่าวอีกว่า ในไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ ปัจจัยที่จะสนับสนุนให้เศรษฐกิจของประเทศมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นคือการท่อง เที่ยว โดยคาดว่าหลังจากที่ฤดูฝนสิ้นสุดลงในปีอีก 2 - 3 สัปดาห์ข้างหน้า ประเทศไทยจะมีบรรยากาศที่ดีในการดึงดูดนักท่องเที่ยว ประกอบกับการเตรียมความพร้อมของสนามบินในการรองรับนักท่องเที่ยวโดยการปรับ ปรุงาสนามบินสุวรรณภูมิ และการเปิดสนามบินดอนเมืองให้บริการอีกครั้งทำให้สามารถรองรับนักท่องเที่ยว ได้เพิ่มขึ้น


รักษ์ไม้,ปุ๋ยมูลไส้เดือน,มูลไส้เดือนดิน,การเลี้ยงไส้เดือน,ปุ๋ยอินทรีย์,ปุ๋ยชีวภาพ

Tags : คณะทำงานส่งออก ย่ำอยู่กับที่ ไร้รูปธรรม การแก้ไขปัญหา

view